รางวัลชมเชย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4, KR 2.2.2,
KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4
ปีการศึกษา 2565
การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง
ผู้จัดทำโครงการ
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
1) อ.ทพ. ณัฐวุฒิ ศุภชวโรจน
2) อ.ทพ. สิรวิชฐ์ เลิศชาตรีพงษ์
ผู้ให้ความรู้
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
1) ผศ.ทญ.ดร. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์
2) ผศ.ทญ.จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ
หลักการและเหตุผล
ประเภทความรู้และที่มาของความรู้
วิธีการดำเนินการ
การทำวิจัยจะทำงานร่วมกันเป็นทีม 2 คน โดยจะมีการแบ่งภาระงานกันชัดเจน เพราะถ้าทำวิจัยคนเดียวอาจทำให้ไม่สามารถส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ต่อเนื่องได้
- มีการสลับกันเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยผู้ร่วมวิจัยจะคอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ทำให้แบ่งเบา และดูแลทีมงานวิจัยได้อย่างทั่วถึง
- มีการวางโครงการวิจัยที่เหมาะสม และเป็นไปได้ โดยจะพิจารณาศักยภาพของทีมวิจัย เพื่อสร้างกรอบเป้าหมาย หัวข้อ ให้เหมาะสม และมีการดูแลความสัมพันธ์ในทีม เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย
- พิจารณาวารสารที่สนใจตีพิมพ์ตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีเนื้อหา และรูปแบบงานวิจัยที่สอดคล้อง เพิ่มโอกาสในการได้รับการตีพิมพ์
- มีการแบ่งงานในทีมวิจัย โดยเฉพาะนักศึกษา โดยนักศึกษาโดยจะเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยดำเนินการทดลอง และทำให้เกิดผลขึ้นมา แต่ส่วนหลักของงานวิจัยเช่น การสรุปผลหรือการอภิปรายผล ทีมอาจารย์จะเป็นแกนหลัก
-เนื่องจากนักศึกษาที่ร่วมทำการวิจัยเป็นชั้นปีที่เริ่มทำคลินิก มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง ไม่ได้ทำวิจัยเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทได้อย่างเต็มที่
-อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ เป็นเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีอยู่ในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องทำเรื่องขอใช้อุปกรณ์ ของสถาบัน ต้องวางแผนเพื่อจะให้นักศึกษาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและเสียเวลาที่จะใช้ในคลินิกของตัวเองที่จะต้องทำงานอยู่แล้วให้น้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ
-การระบุปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ โดยทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการวิจัย เพื่อให้แผนงานวิจัย ดำเนินได้เนื่อง และสำเร็จลุล่วงได้
การพิจารณาผลงานที่ได้ และมีการปรึกษากันในทีม เพื่อต่อยอดในการเผยแพร่ผลงาน หรือส่งแข่งขันประกวดทั้งในงานวิจัย และนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยจะพิจารณาถึงความตั้งใจของนักศึกษาร่วมด้วย จะมีการกระตุ้นทีมให้นำเสนอผลงานที่ตั้งใจทำ โดยในหลาย ๆ ครั้งพบว่า นักศึกษามีศักยภาพที่จะทำ และสามารถทำได้อย่างดี โดยทั้งนี้ความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้มีความภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน เพื่อสร้างชื่อเสียงต่อไป
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
-ควรพิจารณาการจัดสรรเวลาที่ชัดเจน โดยหากสามารถจัดช่วงเวลาของงานวิจัยอยู่ในช่วงที่นักศึกษาไม่ได้มีภาระหนักมาก สามารถให้ความสำคัญกับงานวิจัยได้เต็มที่ น่าจะทำให้ได้ผลงานตามที่ตั้งเป้าไว้
-การสนับสนุนด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะช่วยอำนวยความสะดวก และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้นทุนการวิจัยที่จะลดลงอย่างมาก
-การมีสถาบันร่วมวิจัยที่เป็นทางการ อาจจะช่วยเพิ่มช่องทาง ในการติดต่อ หรือเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยได้มากขึ้น