เครื่องมือการพัฒนาบุคลากร
(Personal Development Tools)

"การพัฒนาตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้การฝึกอบรมในชั้นเรียน ยังมีวิธีการพัฒนาด้วยรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย"

มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ใช้แนวทางการเรียนรู้บนพื้นฐานของ 70:20:10  Learning Model  (ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์) เป็นวิธีการพัฒนา / เครื่องมือการพัฒนาบุคลากร โดยแบ่งตามลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้

มุ่งเน้นการเรียนรู้ในสถานที่ทำงานจริง (Working Place) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การพัฒนาสมรรถนะหลักตามที่องค์การคาดหวัง

มุ่งเน้นการเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ความไว้วางใจ  ความเชื่อถือศรัทธาซึ่งกันและกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดมุมมองและแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาสมรรถนะหลักตามที่องค์การคาดหวัง 

มุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างเป็นทางการจากหลักสูตรหรือโปรแกรมที่ถูกจัดวางไว้ อย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อให้
ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาตนเอง

70%

Learn by Experience
เรียนรู้จากประสบการณ์

ฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน (On the Job Training)

เน้นการฝึกอบรมในการปฏิบัติงานจริง โดยให้ผู้สอนที่เป็นหัวหน้างาน หรือ บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประกบเพื่ออธิบายและชี้แนะ เครื่องมือนี้จะเกิดประโยชน์ได้ถ้าใช้คู่กับการสอนงาน

การมอบหมายงานโครงการ (Project Assignment) / การบริหารโครงการ (Project Management)

เน้นการมอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบโครงการระยะยาว ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันหรือสองวัน เป็นโครงการพิเศษที่บุคลากรจะต้องแยกตัวจากเดิมที่เคยปฏิบัติหรือ เป็นโครงการที่เพิ่มขึ้นจากงานประจำที่รับผิดชอบ (ไม่ว่าจะเป็นโครงการทั่วไป หรือโครงการวิจัย)

การหมุนเวียนงาน (Job Rotation)

เน้นให้บุคลากรเวียนจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งเพื่อเรียนรู้งานนั้นตามระยะเวลาที่กำหนด โดยส่วนใหญ่ มักใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของผู้บริหารก่อนการปรับตำแหน่ง/ ระดับ

การเป็นวิทยากรภายใน / วิทยากรภายนอก (Trainer)

เน้นการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการถ่ายทอด รักการสอน และมีความรู้ในเรื่องที่จะสอน โดยมอบหมายให้บุคคลเหล่านี้เป็นวิทยากรภายในองค์กร ทำหน้าที่บรรยายในการอบรมให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน หรือภายนอกองค์กร

การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ   (Conference Presentation)

เน้นการนำเสนอผลงานวิจัย งานวิชาการ ในการประชุมวิชาการ ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

การดูงานนอกสถานที่ (Site Visit)

เน้นการดูระบบและขั้นตอนงานจากองค์กรที่เป็นตัวอย่าง (Best Practice) ในเรื่องที่ต้องการดูงาน เพื่อให้บุคลากรเห็นแนวคิด และหลักปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ อันนำไปสู่การปรับใช้ในองค์กรต่อไป

20%

เรียนรู้จากผู้อื่น/สัมพันธภาพ

Learn by Exchange
เรียนรู้จากผู้อื่น/สัมพันธภาพ

การสอนงาน (Coaching)

เน้นอธิบายรายละเอียดของงาน ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในภาคสนามเท่านั้น อาจจะเป็นการสอนงานภายในที่ทำงาน โดยส่วนใหญ่หัวหน้างานโดยตรงจะทำหน้าที่สอนงานให้กับบุคลากร

โปรแกรมพี่เลี้ยง (Mentoring Program)

เน้นพัฒนาเรื่องจิตใจ การปรับตัว การทำงานร่วมกับผู้อื่นภายในองค์การ บางแห่งเรียก Buddy Program ซึ่งบุคลากรจะมีพี่เลี้ยงที่ได้รับคัดเลือกให้ดูแลเอาใจใส่และพูดคุยกับบุคลากรอย่างไม่เป็นทางการ

การประชุม (Meeting)

เน้นการพูดคุยระดมความคิดเห็นของทีมงานให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย ผู้นำการประชุม/สัมมนาจึงมีบทบาทสำคัญมากในการกระตุ้นจูงใจให้ผู้เข้าร่วมประชุม/สัมมนา นำเสนอความคิดเห็นร่วมกัน

10%

Learn by Education
เรียนรู้จากการศึกษาเรียนรู้

การฝึกอบรมในชั้นเรียน (Classroom Training)

เน้นการเรียนรู้จากผู้เรียนหลากหลายกลุ่มงานตามตำแหน่งงาน โดยส่วนใหญ่มีหน่วยงานพัฒนาบุคคลทำหน้าที่จัดการอบรม หรือการไปอบรมกับหน่วยงานอื่นๆ ภายในองค์กร หรือไปอบรมกับหน่วยงานภายนอก

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning)

เน้นการฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง จากแหล่งช่องทางการเรียนรู้ต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ หรือการศึกษาระบบงานจาก Work Instruction หรือ ค้นคว้าผ่าน Internet หรือเรียนรู้จาก E-Learning หรือสอบถามผู้รู้ เป็นต้น

หลังจากที่ท่านได้เข้ารับการฝึกอบรมหรือพัฒนา  ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายงานผลการเข้ารับการฝึกอบรม และกรอกข้อมูลเพื่อรายงานผล
ให้ผู้บังคับบัญชาของท่านรับทราบ  สามารถคลิกดูตัวอย่างและดาวน์โหลดไฟล์ได้ด้านล่างนี้

แบบฟอร์มรายงาน
สรุปผลการเข้ารับการฝึกอบรม
Classroom Training
แบบฟอร์มบันทึกการพัฒนาตนเอง
ด้วยเครื่องมืออื่นๆ
Non-Classroom Development

Loading

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X