รางวัลชมเชย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.2, KR 1.4.4

ปีการศึกษา 2565

โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท
อ.ณัฐพัชร์ หลวงพล-2
ผู้จัดทำโครงการ

ณัฐพัชร์ หลวงพล
ศูนย์บริการวิชาการ

หลักการและเหตุผล

         เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคมโดยทั่วไป นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์สื่อสาร กลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทั้งที่อยู่ในวัยเรียนถึงวัยทำงาน จำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัล ในวงการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง การสอบเพื่อประเมินผลการเรียน เป็นกระบวนการส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชา ได้มีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานรวมถึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในขบวนการนี้ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด            ปัญหาที่พบในยุคแรกๆ คือต้นทุนการลงทุนที่มีราคาสูง ระบบในขณะนั้นยังต้องอาศัยทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์การเขียนโปรแกรม และเทคโนโลยียังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่มาก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย รวมถึงซอฟแวร์ต่างๆ มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือสูง รองรับการประมวลผลบนคลาวน์ ระบบมีการออกแบบให้ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงาน สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่แล้ว ทำให้ต้นทุนในการนำมาประยุกต์ใช้ถูกลงอย่างมาก ประกอบกับข้อดีของระบบเหล่านี้เมื่อเทียบกับกระบวนการแบบดั้งเดิมคือ ความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง และลดพื้นที่การจัดเก็บ ง่ายต่อการสืบค้น โครงการนี้เป็นการศึกษารูปแบบการจัดสอบผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ และลดขั้นตอนการทำข้อสอบ การคุมสอบ การจัดเก็บ และการจัดทำรายงานผลการสอบ โดยในการคุมสอบ (Proctoring) ใช้ระบบ SEB (Safe Exam Browser) เป็นตัวควบคุมสิทธิ์ในการใช้งานฟังก์ชั่นบนอุปกรณ์ในขณะสอบ ร่วมกับการใช้ระบบกล้องเพื่อช่วยการคุมสอบ (Proctoring) โดยเปรียบเทียบทั้งการใช้กล้องวงจรปิดภายในห้อง และกล้องจากจอคอมพิวเตอร์ เพื่อเปรียบเทียบมุมกล้อง คุณภาพของภาพ จุดเด่น และจุดด้อยของแต่ละวิธี รวมถึงความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต เมื่อใช้งานพร้อมกันทั้งระบบ VDO streaming จาก zoom (หรือ Jitsi) และการทำข้อสอบผ่านระบบออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่างๆ

ประเภทความรู้และที่มาของความรู้

เจ้าของความรู้, จากการสำรวจความต้องการของอาจารย์ผู้สอน และข้อมูลจากการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการดำเนินการ

การสอบออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับระบบหลักๆ 2 ระบบ ได้แก่

  1. ระบบสร้างข้อสอบ บริหารจัดการและดำเนินการสอบ ตรวจข้อสอบ และจัดทำรายงานสรุป อาทิ Google Form, MS Form, Socrative, LMS, Examplus เป็นต้น
  2. ระบบคุมสอบ (Proctoring) และระบบ lock screen เพื่อป้องกันการทุจริตในระหว่างสอบ

พารามิเตอร์ที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้

  • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (ในห้องปฏิบัติการ) ที่ติดตั้งสาย LAN
  • ระบบปฏิบัติการ Windows, MacOS, iOS
  • iPad (อุปกรณ์ส่วนตัวของนักศึกษา)
  • โปรแกรม SEB สำหรับติดตั้งบนเครื่องที่ใช้สอบ เพื่อจำกัดสิทธิ์การใช้งานบางฟังก์ชั่น
  • โปรแกรม Zoom สำหรับติดตั้งบนเครื่องที่ใช้สอบ เพื่อ Proctoring แบบ online streaming
  • กล้องวงจรปิดสำหรับ Proctoring แบบ local
  • ระบบสอบด้วย MS Form
  • ระบบสอบด้วย Socrative

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ศึกษา features และ optons ของ SEB สำหรับควบคุมการเปิดปิดฟังก์ชั่นของระบบปฏิบัติการ และรันทดสอบกับระบบ Windows, MacOS และ iOS
  2. ค้นหาและคัดเลือกรายวิชาที่มีความสนใจจะทดลองใช้ระบบ จำนวน 2-3 รายวิชา
  3. ค้นหาห้อง computer lab เพื่อใช้เป็นห้องสาธิต
  4. สำรวจสถานที่ และความเหมาะสมโดยพิจารณาจาก สภาพของอุปกรณ์ จำนวนเครื่อง และวันเวลาว่างที่สามารถขอใช้งานได้
  5. ทำเอกสารเพื่อขออนุญาตใช้ห้องให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล
  6. จัดทำ script สำหรับโปรแกรม SEB
  7. ติดตั้งโปรแกรม SEB, Zoom และรันทดสอบ
  8. ประสานงาน Wisdom TV เพื่อขอยืมใช้กล้องวงจรปิด
  9. เก็บรวบรวมปัญหาที่พบ และดำเนินการแก้ไข
  10. ประสานอาจารย์ผู้สอน เพื่ออธิบายวิธีและขั้นตอนการสอบ ระบบที่ใช้ และนัดพบนักศึกษาในชั้นเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอบ

รายวิชาที่เข้าร่วมการทดลองระบบ
1. 
วิชา ACC100 
    1.1 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาคณะบัญชี จำนวน 120 คน

(โมเดลที่ 1) การสอบโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของมหาวิทยาลัย (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)
   สถานที่
   ห้อง 19-317
       -ระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 60 เครื่อง (แบ่งสอบเป็น 3 รอบ)
    ช่วงวัน-เวลา
       -วันที่ 4-6 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30-12.00 น.
2. วิชา BIO131
      2.1 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ จำนวน 247 คน
(โมเดลที่ 1) การสอบโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของมหาวิทยาลัย (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)
     สถานที่
     ห้อง 19-317
       – ระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 60 เครื่อง
     ห้อง 19-319
       -ระบบปฏิบัติการ MacOS จำนวน 150 เครื่อง
(โมเดลที่ 2) การสอบโดยใช้อุปกรณ์ส่วนตัวของนักศึกษา (Onsite)
     สถานที่
     ห้อง 19-305
       – ระบบปฏิบัติการ iOS จำนวน 37 เครื่อง
     ช่วงวัน-เวลา
       -วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30-12.00 น.
   2.2 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาคณะทันตแพทย์ 117 คน
        เนื่องจากมีนักศึกษาบางส่วนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด จึงต้องใช้รูปแบบการจัดสอบแบบผสมผสาน (โมเดลที่ 3)
(โมเดลที่ 3) การสอบแบบ Onsite + Online
      สถานที่สอบ
      ห้อง 19-317 30 คน ระบบ Windows
      ห้อง 19-319 86 คน ระบบ MacOS
      Online 1 คน ระบบ iOS (iPad)
      ช่วงวัน-เวลา
        – วันที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-15.00 น.
โดยนศ.ที่สอบ online จะใช้ระบบ Zoom เพื่อให้อาจารย์สามารถสื่อสารกับนักศึกษาในระหว่างสอบ และใช้ SEB browser ควบคุมอุปกรณ์ในระหว่างสอบ เพื่อป้องกันการทุจริต 

 

       

สรุปผลการดำเนินงาน
วันที่ 4-6 ตุลาคม ใช้ห้อง 19-317 เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีไม่เกิน 60 คน
วันที่ 10 ตุลาคม ใช้ห้อง 19-317, 19-319, 19-305
วันที่ 11 ตุลาคม ใช้ห้อง 19-317, 19-319

มาตรการเฝ้าระวังการทุจริตในระหว่างการคุมสอบ
– ในห้อง 19-317 ที่มีขนาด 150 เครื่องใช้กล้องวงจรปิด 2 ตัว ติดตั้งบริเวณด้านหน้า และด้านหลังของห้อง ร่วมกับการเดินตรวจโดยอาจารย์ผู้คุมสอบ
– ในห้อง 19-319 และนศ.ที่สอบออนไลน์ ใช้กล้องหน้าของเครื่อง ตรวจจับพฤติกรรมในขณะสอบผ่านระบบ Zoom ร่วมกับการเดินตรวจโดยอาจารย์ผู้คุมสอบ
– เครื่องที่ใช้สอบจะติดตั้ง script เพื่อสั่งงานให้เปิดโปรแกรม SEB browser พร้อมกับเข้าสู่ Kiosk mode เพื่อให้สามารถทำข้อสอบได้เพียงอย่างเดียว และจะปลดล็อคได้เมื่อสอบเสร็จ

ระบบสอบที่ใช้
– MS Form ใช้ในรายวิชา ACC100
– Socrative ใช้ในรายวิชา BIO131

ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
1. ในช่วงการทดสอบระบบ พบปัญหาทางเทคนิคในการ login เข้าหน้าข้อสอบของ MS Form เนื่องจาก SEB browser ป้องกันการย้ายไปเว็บเพจอื่นในขณะสอบ (ไม่พบปัญหานี้ใน Google Form หรือระบบอื่น) และได้ทำการแก้ไขด้วยการปรับพารามิเตอร์ใน script ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์
2. ในการเตรียมความพร้อมของเครื่องในห้องปฏิบัติการ มีความยุ่งยากเนื่องจากไม่สามารถสั่งติดตั้งผ่านเครือข่ายได้ เพราะไม่มีข้อมูล Mac Address ในส่วนกลาง จึงต้องทำการติดตั้ง script ที่ละเครื่อง และเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง scipt ต้องทำการติดตั้งใหม่ที่ละเครื่อง
3. ในขณะสอบ มีอุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น คีย์บอร์ด หรือเมาส์ ใช้งานติดขัด
4. การจองใช้ห้องปฏิบัติการล่วงหน้าช่วงก่อนเปิดเทอม มีข้อจำกัดเนื่องจากการจัดตารางการใช้ห้องจะทราบว่าห้องว่างหรือไม่ ต้องรอให้ทางคณะจัดตารางให้เสร็จก่อน

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ข้อเสนอแนะ
1. ในโมเดลที่ 1 ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการควรมีการเก็บข้อมูล Mac Address ของเครื่องในห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ระบบ remote เข้าไปติดตั้งชุดคำสั่งจากส่วนกลางให้ติดตั้ง scipt โดยอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการเตรียมการ
2. จากการทดลองครั้งนี้ ได้แนวคิดในการสร้างหน้าเว็บ portal ก่อนเข้าหน้าระบบสอบ จะทำให้ไม่ต้องแก้ไข scipt ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าเพจข้อสอบ และยังสามารถเก็บประวัติการเข้าของผู้สอบได้
3. รูปแบบการสอบด้วยอุปกรณ์ส่วนตัวของนักศึกษา พบว่าเป็นโมเดลที่ดีที่สุด เนื่องจากนักศึกษามีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ และสามารถนำไปใช้กับสถานที่ใดก็ได้ กรณีที่ห้องปฏิบัติการไม่ว่าง และการติดตั้ง script ทำได้ง่ายโดยการใช้ QR code สแกนในห้องสอบได้ทันที

แผนดำเนินการ
1. พัฒนาระบบเซิร์ฟเวอร์ SEB Server ขององค์กร สำหรับการควบคุมจากส่วนกลาง เพื่อรองรับการใช้งานในจำนวนมากพร้อมๆกัน โดยสามารถสร้าง script และเรียกใช้งานผ่านเซิร์ฟเวอร์นี้ได้ทันที
2. พัฒนาระบบ Jitsi Server ขององค์กร เพื่อใช้ร่วมกับ SEB browser ในการคุมสอบ (Proctoring) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นระบบ VDO conference (ฟรี)ในองค์กรได้ด้วย

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X