รางวัลชมเชย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2

ปีการศึกษา 2565

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”
นพ.สถิตย์-1
ผู้จัดทำโครงการ

รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา
อาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก
โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ

หลักการและเหตุผล

          การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ
          ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการในการทำวิจัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ดี ทั้งการทำนวัตกรรมและการทำวิจัย เป็นสิ่งที่ประกอบกันของกระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะช่วยสนับสนุนของกันและกันงานวิจัยจะสนับสนุนนวัตกรรมและนวัตกรรม อาศัยงานวิจัยในการพัฒนาในขั้นต่อไป

ประเภทความรู้และที่มาของความรู้

เจ้าของความรู้, เปรียบเทียบขบวนการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบันนั้น การมุ่งเน้นทั้ง 2 ขบวน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้พัฒนาความคิดใหม่จากกระบวนการที่อาจารย์และรุ่นพี่ทำกันมาโดยเปิดการสร้างจินตนาการและความคิดที่เฉพาะเป็นประเด็นที่สนใจ

วิธีการดำเนินการ

        การทำวิจัย หรือ นวัตกรรม นั้นควรมีการตั้งคำถามที่ดี ต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะทำอะไร จะไปที่ไหน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงความคิดและเหตุผล รู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน สามารถ เล่าเรื่อง และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายๆ Story telling
        การสร้างและพัฒนางานนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ ได้ จากวิธีคิด มีวิธีคิด 6 วิธี คือ
1. หลุดจากกรอบแห่งโลกความจริง            
2. สร้างสรรค์จากความฝัน
3. เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นไอเดีย                         
4. ต่อให้ติดพิชิตความต่าง
5.มองมุมกลับ ปรับมุมมอง เหมือนลูกเต๋า
6. ตัวเลขมหัศจรรย์ ซึ่งเราควรรับมือโดยการสร้างเป้าหมายใหม่ๆ อย่างรวดเร็วในโลกแห่งการแข่งขัน และควรเลือกสิ่งที่เราถนัดสร้างสมรรถนะ (Core Competency) หลักในการเอาชนะคู่แข่งคือ
       1) การคิดอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการคิด โดยใช้การคิดแบบเป็นขั้นตอนใช้ สุ จิ ปุ ริ
      2) จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา
      3) พัฒนากระบวนการคิด Mindset ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ฝังลึกทำให้เกิดทัศนคติและประสบการณ์
      4) ควรมีการยืดหยุ่นปัญหา โดยใช้ Active Listening จะทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์
      5) การปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน
      6) นักศึกษาแพทย์ควรมีพรสวรรค์และพรแสวง
      7) เครื่องมือในการทำงานควรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ
      8) การดำเนินงานแบบเป็นขั้นตอน ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาทำแต่งานที่เร่งด่วนเฉพาะหน้าตลอดเวลา

            ปรากฏการณ์ เล็กๆ บางอย่างเราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น Black Swan Phenomenon แต่ถ้าเกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ยากเกินความควบคุมได้ เช่น การเกิดโรคโควิด ก็เปรียบเสมือนปัญหาที่พบในการทำงาน เพราะฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ นั้นเราต้องจัดลำดับขั้นตอน เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาในปัจจุบันมีลักษณะ VUCA ; V : Volatile (เปลี่ยนแปลงง่าย) U : Uncertained (ไม่มั่นคง,
ไม่แน่นอน) C : Complex (ซับซ้อน) และ A : Ambiguity (กำกวม ความคลุมเครือ)

  1. คนเราจะประสบผลสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวให้ปฏิบัติตามได้ แต่ต้องเริ่มด้วยความพยายาม และมีความสนใจในสิ่งนั้น
  2. ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาสของชีวิต พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือป้าหมายที่วางไว้
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

         หลักในการทำงาน และเป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น ควรใช้หลักของพระพุทธเจ้าสอน คือ อิทธิบาท 4 คือ
                        ฉันทะ คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน หาพรสวรรค์ ความถนัดให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำในสิ่งนั้นๆ
                        วิริยะ คือ การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ มีความขยันมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ
                        จิตตะ คือ โฟกัสที่จุดมุ่งหมาย มีความมุ่งมั่น่อยู่กับสิ่งที่ทำ
                        วิมังสา คือ การศึกษาจากคนที่เคยสำเร็จมาเป็นต้นแบบ