รางวัลชมเชย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.3.1

ปีการศึกษา 2565

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ
ผศ.ธรรมศักดิ์-2
ผู้จัดทำโครงการ

ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล
คณะดิจิทัลอาร์ต

หลักการและเหตุผล

           การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเทคโนโลยี ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วชนิดทวีคูณจนยากจะคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น การศึกษาในยุคนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่ใช่เพียงแค่ชั่วคราวหากแต่ต้องมีการดำเนินการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังเช่น วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของทุกสถาบันการศึกษาทั่วโลกจนต้องทำให้มีการปรับตัวคือ ได้มีการนำการเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาใช้อย่างจริงจัง สถานศึกษาหลายแห่งแม้ยังไม่เคยใช้ต่างพยามดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบทั้งห้องเรียนการศึกษาทั่วไปและห้องเรียนการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนด้านศิลปะส่วนใหญ่ส่งเสริมเป็นการสอนสำหรับเด็กปกติ ขณะที่เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากยังขาดสื่อการเรียนรู้ด้านศิลปะ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว การออกแบบสื่อการสอนออนไลน์และการผลิตสื่อการสอนแอนิเมชันเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส จึงนับเป็นการส่งเสริมให้ประชากรทุกคนควรได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา “การศึกษาไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (ครูกัลยา. ๒๕๖๓)
             ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพหลายครั้ง แต่ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาต่อไปคือ การเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นให้ได้ผลดังที่ควรจะเป็น เพราะทุกความสำเร็จจะเกิดผลได้หากมีพื้นฐานที่ชำนาญมั่นคง การศึกษาในยุคนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นร่วมกันว่า ต้องสามารถสร้างและพัฒนาคนให้มีทักษะหลายด้าน มีความพร้อมที่จะเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีปกติสุข
             “เป้าหมายการศึกษาควรกว้างกว่าเพื่อการทำมาหากิน” การศึกษามักจะเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ทักษะทำงานหาเงินมาบริโภค การจัดการศึกษาซึ่งเป็นการลงทุนพัฒนาคนที่สำคัญที่สุด ควรมีเป้าพัฒนาพลเมืองให้ฉลาดทางปัญญา ทางอารมณ์ และสังคม เป็นทั้งคนมีความสุข ความพอใจ และเป็นพลเมืองที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่มีเป้าแคบๆ แค่ให้เก่งในแง่ทำงานที่ประสบความสำเร็จมาก มีรายได้สูง แต่อาจเป็นคนเห็นแก่ตัวมากกว่าส่วนรวม ไม่มีความสุข ความพอใจอย่างแท้จริง และไม่ได้ช่วยสร้างให้สังคมดีขึ้นด้วย (รศ.วิทยากร เชียงกูร. ๒๕๖๒. กรุงเทพธุรกิจ.) 

ประเภทความรู้และที่มาของความรู้
วิธีการดำเนินการ
  • เสนอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ
  • เสนอแผน/กิจกรรมการทำงาน ส่วนงานผลิตสื่อการสอนศิลปะ สื่อเเอนิเมชันเสริมทักษะศิลปะ สื่อเสมือนจริง
  • จัดกิจกรรมภาคสนามด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล/สื่อเสมือนจริงในรูปชุดแบบเรียนวาดระบายสี AR Painting กลุ่มเป้าหมายโรงเรียนที่มีห้องเรียนการศึกษาพิเศษจำนวน 10 แห่ง
  • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ RSU Cyber
  • ดำเนินงานผ่านสถาบันวิจัย มรส.  

การดำเนินการ / การนำไปใช้
– จัดทำสื่อการสอนศิลปะ สื่อแอนิเมชัน ชุดแบบเรียนวาดระบายสีสื่อเสมือนจริง พร้อมแอปพลิเคชัน
– จัดส่งมอบครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ให้สถานศึกษาจำนวน 10 แห่ง
– จัดกิจกรรมภาคสนาม การสอนศิลปะสำหรับเด็กพิเศษ อุปสรรตและปัญหาในการทำงาน
    1. ระยะเวลาในการดำเนินงานยังคงเป็นช่วงที่สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ยังมีความรุนแรง หน่วยงานในมรส.ส่วนใหญ่ปิดทำการ ทำให้การติดต่อ เกี่ยวกับเอกสาร การเบิกจ่ายมีความล่าช้า
    2. คณะทำงานบางท่านตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ต้องเข้ารับการรักษาตัวทำให้การดำเนินงานส่วนผลิตสื่อแอนิเมชันเกิดความล่าช้า และต้องแก้ไขหลายครั้ง
    3. เนื่องจากเป็นช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 การติดต่อโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมายเป็นไปด้วยความลำบาก และไม่สามารถจัดกิจกรรมภาคสนามตามกรอบระยะเวลาเดิมได้ ทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาใหม่
    4. เนื่องจากเป็นทุนวิจัยแรกของมรส. ที่ได้รับจากแหล่งทุนนี้ ซึ่งมีข้อระเบียบปฏิบัติไม่เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การเบิกจ่าย แหล่งทุนโอนเงินเข้าบัญชีโครงการ และต้องการให้ มรส.ออกใบเสร็จรับเงิน ซึ่งมรส.ไม่สามารถออกใบเสร็จได้เนื่องจากเงินไม่ได้โอนเข้าบัญชีของมรส. ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันวิจัยและสำนักงานฝ่ายการเงิน ให้เจ้าของโครงการโอนเงินเข้าบัญชีมรส.เพื่อให้มรส.ออกใบเสร็จ และมรส.จะดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ทางโครงการ (ซึ่งมีความล่าช้ามาก และตรงกับช่วงที่มรส.ปิดทำการ)

  1. การจัดการเรียนการสอนศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอาร์ต สื่อเสมือนจริงไปช่วยจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษในระดับชั้นประถมศึกษา
  2. ผลงานสื่อการสอนของโครงการได้รับการตอบรับในระดับดีมากจากกลุ่มเป้าหมาย
  3. ประสบการณ์การดำเนินการติดต่อ/การนำเสนองานด้านการศึกษาพิเศษ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
  • งานวิจัยที่สนับสนุนด้านการศึกษาพิเศษยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการศึกษาทั่วไป
  • จุดเด่นของโครงการคือเน้นไปใช้จริงในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ
  • ได้รับผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • ได้รับคำชมเชยจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากแหล่งทุน