รางวัลชมเชย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.1

ปีการศึกษา 2565

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development)
รังสีเทคนิค-1
ผู้จัดทำโครงการ

อ.กัญจนพร โตชัยกุล
ผศ.ดร นัฐพงษ์ มูลคำ
คณะรังสีเทคนิค

หลักการและเหตุผล

แนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร (นวัตกรรมทางด้านวัสดุป้องกันรังสี)
          อุปกรณ์กันรังสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นวัสดุที่ผลิตจากตะกั่วและมี Density ที่สูง ทำให้มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี มักใช้ในห้อง General X-ray, CT Scan, Cath Lab, X-ray C-arm, Operation Room หรือใช้ประกอบกับประตูกันรังสี ฉากกันรังสีภายในห้อง ตลอดจนฉากเลื่อนกันรังสีต่างๆ แต่เนื่องจากด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงและตะกั่วมีความเป็นพิษ จึงต้องการศึกษาคุณสมบัติของส่วนผสมสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ (Iodine contrast media) และ epoxy resin ที่สามารถขึ้นรูปได้อย่างอิสระ รวมถึงศึกษาคุณสมบัติการในการดูดกลืนรังสีและพัฒนาไปสู่วัสดุที่ช่วยป้องกันรังสี
          โดยสารทึบรังสีหมายถึงสารที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อให้เกิดความแตกต่างในการดูดกลืนรังสีระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นที่อยู่ใกล้เคียง และสารทึบรังสีที่ใช้กันทางรังสีวินิจฉัยเป็นสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสี ซึ่งสามารถนำไปผสมในส่วนประกอบต่างๆ เพื่อขึ้นรูปสำหรับเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสี โดยเฉพาะผสมกับ epoxy resin ที่มีคุณสมบัติขึ้นรูปง่ายและส่วนผสมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นวัสดุกันรังสีดังกล่าวจะสามารถป้องกันรังสีในระดับพลังงานต่ำได้ และมีข้อดีในการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต น้ำหนักเบา ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถประยุกต์ขึ้นรูปในการสร้างเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสีในส่วนต่างๆของร่างกายได้ และผลลัพธ์สุดท้ายจะสามารถนำไปจดขออนุสิทธิบัตรที่ว่าด้วย เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น 

ประเภทความรู้และที่มาของความรู้
วิธีการดำเนินการ

1) อาจารย์ภายในคณะร่วมกันวางแผนดำเนินการต่างๆ สำหรับการแนวทางการเขียนขอทุนนวัตกรรมและสร้างผลงานนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวิชาชีพรังสีเทคนิค
2) อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เตรียมสร้างผลงานนวัตกรรมรวมถึงขออนุสิทธิบัตร
3) เริ่มเตรียมบทความฉบับสมบูรณ์ (manuscripts) สำหรับส่งตีพิมพ์บทความ
4) อาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์บทความและได้เลขอนุสิทธิบัติ จะมีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ภายในคณะสามารถอภิปราย แลกเปลี่ยน ซักถาม ได้

ประโยชน์ต่อบุคลากร
1) เพื่อให้เป็นแนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร
2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างที่หลากหลาย

ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
1) คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีคุณภาพและสามารถพัฒนาผลงานทางวิชาการในรูปแบบนวัตกรรมวิจัย ร่วมถึงยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นที่รู้จักกว้างขว้างมากขึ้น
2) คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีความรู้ด้านงานวิจัย และสอดคล้องกับแนวคิดงานวิจัยของมหาวิทยาลัย 

การพาณิชย์: องค์ความรู้และเทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี ทำให้เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) ในทางพาณิชย์ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนหรือหน่วยงานร่วมดำเนินการวิจัย
ภายในมหาวิทยาลัย: ความรู้เกี่ยวกับวัสดุป้องกันรังสีชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ทำให้ได้วัสดุที่ผลิตจากสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันรังสีได้เทียบเท่าตะกั่ว ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างวัสดุกันรังสีภายในประเทศและองค์ความรู้สามารถต่อยอดในงานวิจัยได้หลายด้านและสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทาง radiation protection

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและคณะรังสีเทคนิคในทางด้านวิชาการ: ความรู้เกี่ยวกับวัสดุป้องกันรังสีชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ผลการศึกษาจะทำได้ได้วัสดุที่ผลิตจากสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันรังสีได้เทียบเท่าตะกั่ว ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างวัสดุกันรังสีภายในประเทศและองค์ความรู้สามารถต่อยอดในงานวิจัยได้หลายด้าน และสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทาง radiation protection
ประโยชน์ในนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม: วัสดุป้องกันรังสีดังกล่าวเป็นชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการสร้างแนวคิดทางนวัตกรรม เพื่อพัฒนาไปใช้ในระดับคลินิกและเพิ่มประสิทธิภาพของนวัตกรรมของไทย โดยกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ได้แก่ ทีมผู้วิจัย, ภาคเอกชน, สหวิชาชีพที่อยู่ในสาขารังสีวิทยา รวมถึงสถานที่มีการใช้อุปกรณ์กันรังสี

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X