รางวัลชมเชย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2

ปีการศึกษา 2565

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม
(In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and anticancer activities of mixture Thai medicinal plants)
ดร.ภญ.นลินี-1
ผู้จัดทำโครงการ

อ.ดร.ภญ. นลินี ประดับญาติ
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

หลักการและเหตุผล

บริบทหรือความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
       ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 หรือภาวะมลพิษจากการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (particulate matters 2.5; PM 2.5) ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ในระยะเฉียบพลันการติดโรคโควิด-19 มีผลกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบและเป็นเหตุให้การทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลวได้ ส่วนฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ รวมทั้งมีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าฝุ่นนี้เป็นปัจจัยต่อการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง พืชสมุนไพรไทยหลายชนิด ได้แก่ มะนาว ใบหญ้านาง ข่า พริกไทย ใบกัญชา ฯลฯ มีประวัติการใช้ตามภูมิปัญญาโดยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารตลอดจนใช้สำหรับดูแลสุขภาพตลอดจนรักษาโรค ซึ่งมีผลการศึกษาในหลอดทดลองหลายการศึกษาที่สนับสนุนว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ลดกระบวนการอักเสบได้ ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ผู้สอนทางด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยาที่จะต้องมีภาระทั้งการสอน และการทำวิจัยควบคู่ไปด้วย ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการใช้พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในการบำรุง ดูแล รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาในรูปแคปซูลที่สะดวกต่อการรับประทาน ดังนั้นเพื่อสนับสนุนความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงได้มีการทำการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองเป็นเบื้องต้น

ประเภทความรู้และที่มาของความรู้
วิธีการดำเนินการ

วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ
        1. รวบรวมข้อมูล และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
        2. ออกแบบการศึกษาที่รัดกุม ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัยที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
        3. 
ดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้น และจัดทำรายงานการวิจัย
        4. 
เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
        5. 
นำผลการศึกษาที่ได้พัฒนาต่อยอดเพื่อศึกษาวิจัยต่อในระดับคลินิก และวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
– กำหนดหัวข้อวิจัยที่ชัดเจน
– สร้างทีมวิจัย โดยชักชวนนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันพัฒนางานวิจัยที่สนใจ
– ขอทุนวิจัย และดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้นตามสัญญาทุน หากเกิดปัญหาหรืออุปสรรคจะขอคำปรึกษาจากทีมวิจัย และที่ปรึกษาโครงการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้
– เ
ตรียมข้อมูลความพร้อมและทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
– กำหนดของเขตการวิจัยที่ชัดเจ
– เลือกเครื่องมือในการดำเนินงานวิจัยที่เหมาะสม
– ดำเนินงานวิจัยตามกรอบแนวคิด และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ละเอียดรอบคอบ
– เขียนบทความวิจัยเพื่อส่งตีพิมพ์ โดยเลือกวารสารวิชาการระดับนานาชาติคุณภาพสูงและอยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับเป็นอันดับแรก หากถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ จะนำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิมาแก้ไขบทความวิจัย และส่งตีพิมพ์ในวารสารใหม่ที่คุณภาพลดหลั่นลงมา

ผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น
– คณะนักวิจัยที่ร่วมดำเนินงาน
– ผู้บริหารของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต และบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป เป็นผู้สนับสนุนและให้โอกาสในการทำวิจัย

อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว
       การศึกษาวิจัยนี้ใช้เซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมนุษย์เป็นแบบจำลองในการศึกษา ปัญหาที่พบคือเซลล์เจริญเติบโตช้า ต้องเลี้ยงให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่สอดคล้องกันในแต่ละวิธีการศึกษาและแปลผลไปสู่การประยุกต์ใช้ในทางคลินิก

ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น
        ดำเนินการศึกษาวิจัยแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา ผลการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เผยแพร่ผลงานผ่านสื่อสังคมและเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการวิจัยทางคลินิก

 

การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จดังกล่าว
      เรียนรู้บริบทการดำเนินการวิจัยที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขา เพื่อให้งานวิจัยสัมฤทธิ์ผลดีและประหยัดเวลาในการดำเนินงาน ดังนั้นการสร้างทีมวิจัยและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้การดำเนินงานวิจัยในปัจจุบันต้องเน้นผลลัภย์ที่สร้างผลิตภัณฑ์และมูลค่าจากกวิจัย รวมทั้งการตีพิมพ์บทความวิจัยในปัจจุบันจะเน้นการศึกษาในเชิงลึกและเชิงบูรณาการศาสตร์หลายแขนง ทำปรับเปลี่ยนจากการดำเนินงานวิจัยในแนวกว้างเป็นการทำงานเชิงลึกและบูรณาการมากขึ้น เพื่อให้บทความวิจัยไม่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์

สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ) ของผู้เล่าเรื่อง
      เกิดความเข้าใจแนวทางการดำเนินการวิจัยที่เน้นการสร้างทีมวิจัยที่มีคุณภาพ เน้นการดำเนินงานวิจัยที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าแทนที่แนวทางการวิจัยแบบเดิมที่สร้างองค์ความรู้เพียงมิติเดียว ตลอดจนการตีพิมพ์บทความวิจัย เกิดการเรียนรู้ความหลากหลายทักษะการทำวิจัยระหว่างผู้ร่วมวิจัย ทำให้เกิด การสั่งสมประสบการณ์การทำวิจัยในเชิงลึก บูรณาการองค์ความรู้และการมีบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จึงได้รับเชิญให้พิจารณาบทความวิจัยจากวารสารต่าง ทำให้เป็นแนวทางในการสร้างงานวิจัยเรื่องอื่น ๆ ในอนาคตได้ 

ผลงานเชิงประจักษ์ของผู้เล่าเรื่อง คือ
      ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ BMC Complementary Medicine and Therapies ซึ่งอยู่ใน quartile 1 มีค่า impact factor 2.83 มีการแถลงข่าวเผยแพร่ผลงานวิจัย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย และเตรียมโครงการวิจัยต่อยอดในระดับคลินิกต่อไป

 

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

        การดำเนินงานวิจัย สิ่งสำคัญที่สุดคือทำงานศึกษาข้อมูลให้มากสุดก่อนเริ่มต้นดำเนินการ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนอกจากจะทำให้นักวิจัยมีองค์ความรู้ที่กว้างแล้วยังทำให้สามารถค้นพบช่องว่างของงานวิจัยหรือข้อจำกัดของงานวิจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมา (identify research gap) และทำให้ตั้งคำถามงานวิจัยที่เหมาะสมได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการเริ่มดำเนินโครงการวิจัยและออกแบบการทดลองที่สามารถตอบคำถามงานวิจัยได้ ในการดำเนินการวิจัยต้องมองภาพประโยชน์ของงานวิจัยที่จะเกิอดขึ้นว่าคืออะไร เพราะการมองเห็นคุณค่าที่ชัดเจน จะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักวิจัยมีแรงขับเคลื่อนให้ก้าวผ่านปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงคือ เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในการดำเนินการวิจัยและคณะผู้ร่วมงานวิจัยก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดแนวคิดและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปราย การตั้งคำถามที่สมเหตุสมผลที่ทำให้เกิดการค้นคว้าเพิ่มเติมการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X