รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3, KR 1.4.3, KR 1.4.5

การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของนักศึกษา
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media 

ผู้จัดทำโครงการ
อ.วัฒนี รัมมะพ้อ คณะบัญชี
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้

การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในรายวิชาต่างๆ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้และสามารถสะท้อนคิดแนวทางการประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงก่อนที่จะไปปฏิบัติงานจริงในวิชาสหกิจศึกษา หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพบัญชี การพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้
1. เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ในการใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงผ่านกิจกรรมที่บูรณาการเข้าไปในการสอนรายวิชาต่างๆ ด้วยการชี้แจงถึงประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากประสบการณ์วิชาชีพ เช่น นักศึกษาจะได้รับรางวัลหากมีผลงานโดดเด่น การให้คะแนนที่ท้าทายและรวมคำนวณเป็นคะแนนการวัดและประเมินผลรายวิชา การได้รับวุฒิบัตรจากการเข้าร่วมเพื่อเป็น Profile ในการสมัครงานในโครงการสหกิจศึกษา การให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาใช้ในการพัฒนาศักยภาพตนเองต่อไป รวมทั้งการทำ PLC หลังกิจกรรม
2. การออกแบบการสอนแบบบูรณาการกิจกรรมอย่างสนุก ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ เช่น รายวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี มีผลลัพธ์ที่คาดหวังว่านักศึกษามีความรู้ต่อไปนี้เมื่อเรียนวิชานี้ การจัดตั้งสำนักงานบัญชี ประเภทของบริการที่ตลาดต้องการจากสำนักงานบัญชี การวางแผนธุรกิจ คุณภาพการบริการ การบริหารทรัพยากรบุคคล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเจรจาต่อรอง เป็นต้นดังนั้นการออกแบบกิจกรรมต้องสร้างสภาพแวดล้อมและสถานการณ์เสมือนจริงให้กับนักศึกษาสวมบทบาทเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ได้ขบคิดแนวทางการเจรจาต่อรองและการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางบัญชีของธุรกิจออนไลน์ เพื่อจัดเป็นกระบวนเรียนรู้การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา
3. รูปแบบกิจกรรมที่ใช้ จะต้องมีบรรยากาศสนุกคล้ายสอดแทรกเกมส์แข่งขัน เพื่อสร้างแรงกดดันให้กับผู้เล่นเล็กน้อย โดยใช้เกณฑ์เวลา การมีส่วนร่วมในการทำงาน และคุณภาพผลงานกลุ่ม โดยจัดให้มีการประเมินความรู้ที่ได้ด้วยตนเอง และแบ่งปันระหว่างกลุ่มนักศึกษาซึ่งถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะต้องวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่การทำแผนการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ และการเตรียมอุปกรณ์สถานที่ กำหนดการ เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปตามแผน และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการ

ประเภทความรู้และที่มาของความรู้

ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)

เจ้าของความรู้, สมาคมสำนักงานบัญชีไทย ชมรมสำนักงานบัญชีจังหวัดปทุมธานี บริษัทพีพียูเอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด และบริษัท ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน)

วิธีการดำเนินการ

หลักสูตรได้วางแผนการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลไว้ในแผนปฎิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 โดยมุ่งให้การดำเนินงานหลักสูตรบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ (KRs) ตามวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ ตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น นอกจากนี้หลักสูตรมีความคาดหวังที่จะให้นักศึกษามีความพร้อมในการทำงานมากที่สุดก่อนจะเข้าสู่การเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา และสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรภายนอกที่ให้การฝึกหัดงานและร่วมมือกับคณะในสหกิจศึกษา ซึ่งจะทำให้ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาออกมามีคุณภาพในระดับที่องค์กรดังกล่าวยอมรับได้ และมีความตั้งใจที่จะรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังเสร็จสิ้นสหกิจศึกษา การดำเนินงานมีขั้นตอนพอสรุปได้ดังนี้
1. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรวิชาชีพบัญชี ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ได้ทำความร่วมมือกับสมาคมสำนักงานบัญชีไทย ชมรมสำนักงานบัญชีจังหวัดปทุมธานี บริษัท พี พี ยูเอ็น
อินเทลลิเจนท์ จำกัด และบริษัท ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน) โดยทำความเข้าใจในข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะเทคนิคทางวิชาชีพบัญชีให้กับนักศึกษา
2. คณบดี ได้จัดประชุมผู้บริหารขององค์กรวิชาชีพภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการข้างต้น เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ และหารือแนวทางการสอนที่จะทำให้นักศึกษาการเกิดการเรียนรู้ทักษะเทคนิคทางวิชาชีพ ทั้ง 5 ด้าน ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (IES) กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ได้แก่ คุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพบัญชี ความรู้ทางบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง การประยุกต์ความรู้ในการปฎิบัติและสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชี ความรับผิดชอบในงานและการทำงานเป็นทีม การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และทำอย่างไรให้นักศึกษามีความพร้อมมากที่สุดก่อนการปฏิบัติงานจริงในสหกิจศึกษา (จัดประชุมรวม 1 ครั้ง และแยกเป็นคู่ระหว่างหลักสูตรกับผู้บริหารองค์กรวิชาชีพ 2 ครั้ง) ซึ่งได้ข้อสรุปว่าต้องใช้กรณีศึกษาหรือโจทย์ที่พัฒนาจากการประสบการณ์จริง และการสร้างสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด นอกจากนี้ทางหลักสูตรโดยหัวหน้าหลักสูตร ได้ประสานขอความอนุเคราะห์จากคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อบูรณาเข้าไปในรายวิชาที่กำหนดด้วย
3. คณะกรรมการหลักสูตร และคณบดี ได้ประชุมกำหนดรายวิชาที่เหมาะสมที่จะจัดให้มีการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ที่มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลเข้าไปในรายวิชา โดยอาศัยความร่วมมือทางวิชาการที่มีกับองค์กรวิชาชีพบัญชีดังกล่าวทั้งหมด สรุปได้ดังนี้ วิชา ACC357 การอำนวยการทางการเงิน วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ และวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี และได้รับความร่วมมือจากคณะกายภาพบำบัดในวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี โดยเน้น Soft Skills ตามผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ซึ่งก่อนหน้าปีการศึกษานี้ทางหลักสูตรได้พยายามขับเคลื่อนนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยลดการบรรยายและเพิ่มการเรียนรู้ โดยใช้การถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรือ Practitioner เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ใช้เทคนิคการทลายกำแพงวิชาด้วยการทำ Integrated Courses วิชาภาษีอากร 2 กับวิชาการใช้โปรแกรมสำเร็จทางบัญชีด้วยการใช้กรณีศึกษาที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ต่อมาในปีการศึกษา 2563 ได้ใช้ผลการประเมินจากการทำ Integrated Courses ในการปรับปรุงหลักสูตรโดยพัฒนารายวิชาใหม่ ได้แก่ วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ โดยมุ่งให้นักศึกษารู้และเข้าใจการทำบัญชีธุรกิจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและการปฏิบัติทางภาษีถูกต้อง นอกจากนี้ใช้กิจกรรมกลุ่มย่อยในการสอนวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี เพื่อสร้างประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการ และวิชา ACC457 การอำนวยการทางการเงิน โดยนำ Fintech ในรูปของแอพพลิเคชั่นทางการเงินที่นำมาใช้ในตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยความร่วมมือทางวิชาที่ทำกับบริษัท ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ในปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จรูปที่นำมาใช้ในการสอนมีทั้ง ERP และระบบ รวมทั้งการพัฒนา Soft Skills ในรายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี
4. การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จะดำเนินการร่วมกันระหว่างคณบดี อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรวิชาชีพบัญชีที่ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะบัญชี โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (มคอ. 3) ของรายวิชา ACC357 การอำนวยการทางการเงิน วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ วิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี และACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี ประกอบด้วยเนื้อหาสาระรายวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด รวมทั้งวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ข้อสรุปอื่นในการจัดทำแผนการเรียนรู้ของนักศึกษาคือ บทบาทและความรับผิดชอบของทีมสอน (อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชากับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และทีมงานจากคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา) แต่ละรายวิชา ซึ่งประชุมกันทั้งหมดเฉลี่ย 3 ครั้งต่อรายวิชา
5. ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะเป็นผู้ประสานงานกับทีมสอน และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม โดยมีอาจารย์ผู้ช่วยปรมินทร์ งามระเบียบ และอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในดำเนินงานกิจกรรมการเรียนรู้ และใช้งบประมาณโครงการพัฒนาในแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 ซึ่งคณะได้วางแผนไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565

ผลการดำเนินงานแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น
2.1 วิชา ACC357 การอำนวยการทางการเงิน (ภาค2/2565) 3 (3-0-6) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา 74 คน แบ่งการสอน สำหรับภาคทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารเงินและการลงทุน และการนำไปใช้ในการตัดสินใจ รวม 30 ชั่วโมง โดยที่ปรึกษาทางธุรกิจอิสระคือท่านอาจารย์เหรียญชัย นำชัยศรีค้า และ อาจารย์วัฒนี รัมมะพ้อ เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา และ อีก 15 ชั่วโมง สำหรับฝึกการใช้แอพพลิเคชั่น Finansia HERO Version ใหม่ล่าสุด (เป็นโปรแกรมช่วยนักลงทุนในหลักทรัพย์) และการสร้างแรงบันดาลใจการทำ Personal Financial Management โดยที่ปรึกษาทางการเงินจากบริษัท ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน) 
2 ท่าน คือ คุณอภิสิทธิ์ ทรัพย์ทวีธนกิจ และคุณยุทธพล ศิริพานิชวัฒนา จากนั้นให้เวลานักศึกษาในการทดลอง Trade หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ 20 วัน โดยใช้ข้อมูลจริงในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเงินอีเล็กทรอนิกส์ ที่นักศึกษาสามารถทำการซื้อขายหุ้นเพื่อทำกำไรได้จริงในตลาดทุนเสมือนในวงเงินจำกัด 10 ล้านบาท และใช้ผลกำไรจากการ Trade เป็นตัววัดผลการเรียนรู้ในด้านทักษะปัญญา ความรับผิดชอบในงาน การติดตามผลงานของตนเอง และทักษะการคำนวณและการใช้เทคโนโลยี โดยจัดให้แต่ละคนที่มีผลกำไรดีมาถ่ายทอดการวางแผนการลงทุนให้กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ทางบริษัทจัดรางวัลมามอบให้
5 รางวัล วิชานี้จะประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านที่ 2 และ 3 จากการสอบ 50% และผลการเรียนรู้ด้านอื่นที่เหลือ 50%

2.2 วิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี (ภาค 2/2565) 3 (3-0-6) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา61 คน สอนโดยคณะกรรมการบริหารสมาคม สำนักงานบัญชีไทย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และอาจารย์วัฒนี รัมมะพ้อ เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา สอนโดยใช้กิจกรรมการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี 45 ชั่วโมง บวก 3 ชั่วโมง รวม 8 วัน
เริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักกับสำนักงานบัญชี การจัดตั้งสำนักงาน การบริการทางวิชาชีพ การวางแผนธุรกิจ การเจรจาต่อรอง การบริการบุคลากร และคุณภาพการบริการทางวิชาชีพบัญชี มีการวัดผลการเรียนรู้ของแต่ละหัวข้อสอนที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้ทุกครั้ง รวม 100 คะแนนด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การทดสอบความรู้ การทำงานกลุ่มย่อยและการนำเสนอข้อสรุปของกลุ่ม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน เป็นต้น และคุณภาพผลงานคือแผนธุรกิจสำนักงานบัญชี ซึ่งทางหลักสูตรจัดให้มีการนำเสนอทุกกลุ่ม ใน 1 วัน และทางสมาคมสำนักงานบัญชีไทย จัดกรรมการสมาคมฯ มาเป็นกรรมการตัดสิน มอบรางวัลให้กับกลุ่มที่มีผลงานดีที่สุด
2.3 วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ (ภาค 1/2565) 5 (3-4-8) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา 62 คน ประยุกต์ใช้กรณีศึกษาที่พัฒนาร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรกับผู้สอบบัญชี ซึ่งเป็นกรรมการในสมาคมสำนักงานบัญชีไทย และสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากร จึงแบ่งเนื้อหาสาระรายวิชาเป็นการสอนและฝึกทักษะการทำบัญชีธุรกิจแบบครบวงจรจนถึงการส่งงบการเงินเพื่อยื่นภาษีออนไลน์ให้กรมสรรพากร ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีทั้งระบบคลาวด์ และระบบ ERP ในการจัดทำบัญชีใช้เวลา รวม 60 ชั่วโมง ผู้สอน คือ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ อ.ผู้ช่วยสอน ปรมินทร์ งามระเบียบ
และสอนเนื้อหาสาระสำคัญการปฏิบัติทางภาษีธุรกิจถูกต้อง ใช้เวลา 30 ชั่วโมง โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จากสมาคมฯ และ อีก 12 ชั่วโมงในการใช้กิจกรรมฐานปัญหาภาษีและบัญชีเคลื่อนที่ (การเตรียมพร้อมนักศึกษา 3 ชั่วโมง การเข้าฐานแรลลี่ 7 ชั่วโมง และ PLC 2 ชั่วโมง) โดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากชมรมสำนักงานบัญชีจังหวัดปทุมธานี คณบดี และผู้รับผิดชอบรายวิชา ได้ร่วมกันออกแบบและดำเนินกิจกรรมฐานปัญหาภาษีและบัญชีธุรกิจแบบเคลื่อนที่ บูรณาการเข้ามาในแผนการเรียนรู้รายวิชา มีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักศึกษาเรียนรู้ปัญหาในทางปฏิบัติทางบัญชีและภาษีอากรจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยแบ่งเป็น 7 ฐาน แบ่งเป็นฐานภาษีอากรทางธุรกิจ 6 ด้าน และฐานภาษีรวม 1 ฐาน มีการให้คะแนนในด้านความรู้ที่นำมาใช้ถูกต้อง ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาทางภาษีและทางบัญชี การทำงานร่วมกันเป็นทีม การนำเสนอเชิงโต้ตอบกับวิทยากรประจำฐาน ทางชมรมได้ส่งผู้สอบบัญชี และนักบัญชีประจำฐาน ๆ ละ 2 คน บางฐานจะมีอาจารย์วัฒนี และทางชมรมได้จัดผู้ดำเนินรายการ และอาจารย์ผู้ช่วยสอนทำหน้าที่อำนวยการการดำเนินกิจกรรมและจับเวลาที่ใช้ในแต่ละฐาน รวบรวมคะแนนจากฐานต่างๆ โดยผ่าน Google Sheet การดำเนินงานจบลงด้วยการทำ PLC และมอบรางวัลให้กับทุกทีม รวม 6 ทีม ตามลำดับคะแนน
2.4 วิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี (ภาค 1/2565) 3 (2-2-5) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา 52 คน สาระรายวิชาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก เป็นทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น
POWER BI การใช้ภาษาวิชัวร์เบสิก การเขียนโค้ชคำสั่งใน Excel เป็นต้น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ณัฐธงชัย ตรีทวีวงศ์กุล ใช้เวลา 48 ชั่วโมงในห้องปฏิบัติการสารสนเทศทางการบัญชีของคณะบัญชี กับ อีกส่วนเป็น Soft Skills เน้นการพัฒนาภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีมให้เป็นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากทีมงานคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา 6 ท่านด้วยกัน โดยมีอาจารย์พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ และอาจารย์ผู้ช่วยปรมินทร์ งามระเบียบ เป็นผู้ร่วมดำเนินกิจกรรมกับทางทีมงาน การวัดผลแบ่งเป็นการสอบวัดผลความรู้ ทักษะปัญญา และทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล 80% และทักษะการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ 20%

ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน เป็นผลการดำเนินงานในรายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ  ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี ทั้งหมด 2 วิชาที่ดำเนินการสอนแล้วในภาค 1/2565  (รายงานไว้แล้วในมคอ. 5) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้รายวิชาดังนี้ 
1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ  
การเรียนรู้ด้าน : คุณธรรม จริยธรรม จากการสังเกตและติดตามพฤติกรรมของนักศึกษา  พบว่า นักศึกษาทุกคนทำได้ตามข้อกำหนดได้ตลอดภาคการศึกษา มีบางข้อน้อยกว่า 100% และมีเหตุผลแจ้งผู้สอน  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
การเรียนรู้ด้าน : ความรู้ และ ทักษะทางปัญญา  สรุปได้ว่า นักศึกษาสามารถทำข้อสอบข้อเขียนได้คะแนนเกินครึ่งส่วนใหญ่  (90.16%) และการตอบคำถามหรือแสดงความเห็นในการอภิปรายกลุ่มได้  และโครงงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อยู่ในระดับดีขึ้นไปทุกกลุ่ม  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ถือว่าได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
การเรียนรู้ด้าน : ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
     สรุปได้ว่า จากการประเมินคุณภาพจากผลงานของนักศึกษา และการนำเสนอทางวาจา ให้คะแนน  (≥ 80%)  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ถือว่าสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี
การเรียนรู้ด้าน : คุณธรรม จริยธรรม  นักศึกษาส่วนใหญ่นักศึกษาปฏิบัติตามข้อตกลงในชั้นเรียน มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ส่งงานตรงต่อเวลา
การเรียนรู้ด้าน : ความรู้ และ ทักษะทางปัญญา  นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าทดสอบย่อยทั้ง 2 ครั้ง และสอบผ่านการทดสอบ  ในส่วนของรายงานและผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารการเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำของนักศึกษามีคุณภาพเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา
การเรียนรู้ด้าน : ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  ดูจากรายงานและผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารการเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำของนักศึกษามีคุณภาพเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา
การเรียนรู้ด้าน : ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดูจากรายงานและผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารการเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำของนักศึกษามีคุณภาพเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา
การสัมภาษณ์นักศึกษาเพิ่มเติม จากการเรียนการสอนในรายวิชา
  • รายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ  จากการที่รายวิชาจัดกิจกรรมในรายวิชา นักศึกษามีความพึงพอใจระดับดีมาก (4.71) และได้แสดงทัศนคติและความพึงพอใจโดยรวม ดังนี้
    1) เป็นกิจกรรมที่ดีมากค่ะ เพราะเป็นการทดสอบความเข้าใจของเราที่เรียนมา+กับประสบการณ์ในการทำงานของพี่ๆที่มาถ่ายทอดให้รับรู้และเข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ 2) ได้มีการทบทวนเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ได้กลับมาเรียนรู้อีกรอบ 3) ชอบกิจกรรมนี้มาก ทำให้ปลดล็อคในสิ่งที่สงสัยที่ไม่กล้าถามในคลาส 4) ขอบคุณอาจารย์ประจำวิชาที่เล็งเห็นประโยชน์ และจัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ ให้กับนักศึกษา ดีใจและพึงพอใจในกิจกรรมมากมาก เป็นประโยชน์และความรู้ ได้ความรู้ใหม่ ๆ ได้ทวนความรู้เดิม พี่ ๆ ที่มาใจดีและมีใจที่อยากจะแบ่งความรู้สู่น้องๆจริงๆ ขอบคุณมากๆค่ะ 5) อาจารย์และวิทยากรทุกท่าน อธิบายความรู้ใหม่ๆ อธิบายเรื่องภาษีได้เข้าใจง่ายมากๆค่ะ แล้วก็สนุกมากๆค่ะ ของรางวัลเยอะมากด้วยค่ะ ประทับใจ 6) ขอบคุณที่จัดกิจกรรมทำให้รู้อะไรเยอะมากขึ้นเลยครับ 7) ดีเยี่ยมครับ 8) สนุกมากคะ 9) เป็นโครงการที่ดีมากๆ ช่วยส่งเสริมความรู้นอกคลาสเรียนที่เพิ่มมากขึ้น, ชอบมาก, ได้ความรู้ดีมากค่ะ, ได้ความรู้ในการมาสอบเพิ่มค่ะ
  • รายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี จากการที่รายวิชาจัดกิจกรรมในรายวิชา นักศึกษามีความพึงพอใจระดับดีมาก (4.66) และได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1) รู้สึกดีที่ได้มาทำกิจกรรมนี้ค่ะได้คุยกับเพื่อนๆ ในคณะมากขึ้น 2) สนุกและได้รับความรู้เยอะมากๆ ดีใจที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ด้วย
        สำหรับรายวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี และ ACC357 การอำนวยการทางการเงินอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอนในภาค 2/2565  ยังไม่แล้วเสร็จ แต่คาดว่านักศึกษาจะมีผลลัพธ์
การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ 100%
        นอกจากนี้ ทางหลักสูตรได้มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับความทันสมัย ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้การทำกิจกรรมที่บูรณาการเข้าไปในการสอน ความพึงพอใจที่ได้เรียนรู้แบบนี้  ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้  1) อยากให้อาจารย์แนะนำรุ่นน้องให้เลือกเรียนวิชาผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีมากขึ้นค่ะ เพราะส่วนตัวคิดว่าอาจารย์ทุกท่านที่มาสอนล้วนมีประสบการณ์ตรงและความชำนาญสูง สามารถนำประสบการณ์จากการทำงานจริง ๆ มาถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาได้อย่างเข้าใจ และเทคนิคในการสอนดีมาก 2) ได้ปฏิบัติจริงทำให้เรียนสนุก  เห็นด้วยกับการเชิญอาจารย์ที่ทำงานโดยตรงจากการเป็นผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีมาสอนค่ะ  3) ขอให้ทำการสอนที่ดีแบบนี้ต่อไปค่ะ  ดีแล้วค่ะ  คิดว่าหลักสูตรที่ได้ศึกษามาเป็นประโยชน์มาก สามารถนำไปต่อยอดในชีวิตจริงได้ทันที  4) เป็นการเรียนการสอนที่สนุกและได้รู้จักแอฟทำบัญชีมากขึ้น  อาจารย์สอนเข้าใจและสอนสนุกมากค่ะ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

จากการทบทวนกระบวนการ และข้อสรุปความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมบูรณาการกับการสอน ทางหลักสูตรนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกรายวิชาดังกล่าว รวมทั้งการขยายไปสู่รายวิชาอื่นๆ ในปีการศึกษา 2566 แบ่งเป็นด้านต่างๆ มีดังนี้

  1. ด้านงบประมาณ ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้บรรจุลงในแผนประจำปี ในปีต่อไป เนื่องจากในปี 2565 ไม่ได้ตั้งงบประมาณในบางกิจกรรม แต่จำเป็นต้องใช้เงิน จึงต้องโยกงบประมาณ  ดังนั้นในปี 2566 จะต้องวางแผนกิจกรรมที่จะต้องใช้เงินงบประมาณจะต้องบรรจุลงในแผนปฏิบัติการโดยดูจำนวนเงินใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากปี 2565 เป็นเกณฑ์
  2. ด้านการจัดแผนการเรียนรู้รายวิชา ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตพิจารณาผลการประเมินการสอนและประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาจาก มคอ.5 และสรุปโครงการเพื่อนำมาวางแผนและปรับปรุงในการจัดทำมคอ.3 ปีต่อไป
  3. ด้านการปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตพิจารณารูปแบบของกิจกรรมที่บรรจุลงในรายวิชาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยดูจากการสะท้อนคิดของนักศึกษาว่ามีความพึงใจในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุงเพื่อให้ตรงกับความต้องการหรือความสนใจของนักศึกษา อีกทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะและศักยภาพของนักศึกษาในการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการตลาดงานในสถานการณ์ปัจจุบัน
  4. ด้านวิทยากรผู้นำกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตคาดว่าจะให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่บรรจุลงในรายวิชาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในการจัดกิจกรรมได้เองในภายหน้า
  5. ด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร ทางคณะได้เปิดโอกาสให้อาจารย์ประจำแสดงความสนใจที่จะสอนในรายวิชาใหม่ในหลักสูตร เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นผู้สอนร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก โดยเริ่มจากการเข้าสังเกตการณ์การสอน การศึกษาพัฒนาความรู้ของตนเองเพื่อเตรียมตัวในการสอนต่อไป ซึ่งทางคณะจะพิจารณาความพร้อมในการเตรียมตัวของอาจารย์ประจำก่อนที่จะมอบหมายให้เป็นผู้สอน
  6. ด้านการพัฒนากรณีศึกษาทางบัญชี ทางคณะได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรวิชาชีพบัญชี 4 แห่งในปีการศึกษา 2565 โดยจัดให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ประจำกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากองค์กรดังกล่าว เพื่อพัฒนากรณีศึกษาและพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์การขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้กรณีศึกษาสามารถนับเป็นผลงานทางวิชาการได้ และนำมาใช้ในการสอนนักศึกษาต่อไป

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X