KR 1.4.5

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.1, KR 1.4.2, KR 1.4.5 ปีการศึกษา 2565 อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวชวิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้              ตามหลักการอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรฐานหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมไปถึงมาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในทางด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล โดยกำหนดไว้ว่าอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นนอกจากจะต้องเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน และมีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปแล้วนั้น ยังต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเน้นกระบวนการทำงานและการสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามได้ตามความคาดหมาย            ความสำคัญในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาไม่เพียงแต่เป็นการสนองนโยบายหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2565-2569 (แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่) แต่ยังเป็นวิธีการประเมินตนเองอย่างเป็นเป็นรูปธรรมในกระบวนการการทำงานว่าได้ทำสิ่งใดบ้าง อย่างไร และได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่            ดังนั้น …

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

Loading

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3, KR 1.4.3, KR 1.4.5 การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของนักศึกษา หลักสูตรบัญชีบัณฑิตด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning https://www.youtube.com/watch?v=MNPgm_OI1mk&list=PLcTvutIKrjekMO78ArSFb0bNdwo4HjVk8&index=5 VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media  ผู้จัดทำโครงการ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ คณะบัญชี ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในรายวิชาต่างๆ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้และสามารถสะท้อนคิดแนวทางการประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงก่อนที่จะไปปฏิบัติงานจริงในวิชาสหกิจศึกษา หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพบัญชี การพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้1. เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ในการใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงผ่านกิจกรรมที่บูรณาการเข้าไปในการสอนรายวิชาต่างๆ ด้วยการชี้แจงถึงประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากประสบการณ์วิชาชีพ เช่น นักศึกษาจะได้รับรางวัลหากมีผลงานโดดเด่น การให้คะแนนที่ท้าทายและรวมคำนวณเป็นคะแนนการวัดและประเมินผลรายวิชา การได้รับวุฒิบัตรจากการเข้าร่วมเพื่อเป็น Profile ในการสมัครงานในโครงการสหกิจศึกษา การให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาใช้ในการพัฒนาศักยภาพตนเองต่อไป รวมทั้งการทำ PLC หลังกิจกรรม 2. …

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ Read More »

Loading

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X