ยุทธศาสตร์ที่ 1

เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.1.2, KR 1.1.4, KR 5.2.2 ปีการศึกษา 2565 เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มยอดนักศึกษาแรกเข้าในหลักสูตรปริญญาโท SMT ผู้จัดทำโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุมามาลย์ ปานคำวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ จากวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม คือ มุ่งสร้างนักเทคโนโลยีสื่อสังคมที่มีคุณภาพเน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริงและผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ให้มีความทันสมัย มีความเป็นนวัตกรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม          ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสังคม หรือ โซเชียลมีเดีย (Social Media) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับคนในยุคดิจิทัลกลายเป็นพื้นที่ในการติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ และทำกิจกรรมประเภทต่าง ๆ หนึ่งในนั้น คือ การทำงานหรือประกอบอาชีพ สามารถเป็นตัวช่วยในการทำงาน เช่น ผู้ประกอบการใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นพื้นที่ทางการค้าและการตลาด หรือที่เรียกว่า “ตลาดออนไลน์” …

เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น Read More »

Loading

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.1, KR 1.4.2, KR 1.4.5 ปีการศึกษา 2565 อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวชวิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้              ตามหลักการอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรฐานหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมไปถึงมาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในทางด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล โดยกำหนดไว้ว่าอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นนอกจากจะต้องเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน และมีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปแล้วนั้น ยังต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเน้นกระบวนการทำงานและการสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามได้ตามความคาดหมาย            ความสำคัญในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาไม่เพียงแต่เป็นการสนองนโยบายหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2565-2569 (แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่) แต่ยังเป็นวิธีการประเมินตนเองอย่างเป็นเป็นรูปธรรมในกระบวนการการทำงานว่าได้ทำสิ่งใดบ้าง อย่างไร และได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่            ดังนั้น …

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

Loading

รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21​

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3 ปีการศึกษา 2565 รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร. วิมลรัตน์ บุญเสถียรคณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบุคคลซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ต้องถูกต้องแม่นยำและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด การจัดการเรียนรู้ของวิชาชีพส่วนใหญ่จึงมีชั่วโมงการฝึกปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการและสถานการณ์จริงมากกว่าการเรียนภาคทฤษฎี โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความความรู้ มีทักษะที่จำเป็นทางวิชาชีพ และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของพยาบาลยุคปัจจุบันตามที่ปรากฎในหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจทางคลินิก ทักษะการสื่อสารทั้งเชิงวิชาชีพและสังคม การเป็นผู้นำหรือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพให้กับผู้รับบริการ และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ผ่านมาแม้จะมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเป็นระยะ จนนักศึกษามีความรู้และทักษะจำเป็นทางวิชาชีพที่สามารถประกอบวิชาชีพได้ตามมาตรฐาน แต่การพัฒนาสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรยังไม่ชัดเจน นักศึกษาจำนวนมากเป็นผู้ตามที่ดี แม้มีความรู้ความคิดและตัดสินใจทางคลินิกในระดับหนึ่ง แต่ขาดความมั่นใจในการสะท้อนคิดหรืออภิปรายร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากกังวลเรื่องความถูกผิดของความคิดเห็น นอกจากนี้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมและความบันเทิง จึงจำเป็นต้องเพิ่มการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทันข้อมูล รู้แหล่งค้นหา เลือกใช้ข้อมูลและใช้งานเทคโนโลยีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ : ความรู้แบบชัดแจ้ง …

รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21​ Read More »

Loading

โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.2, KR 1.4.4 ปีการศึกษา 2565 โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท ผู้จัดทำโครงการ ณัฐพัชร์ หลวงพลศูนย์บริการวิชาการ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคมโดยทั่วไป นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์สื่อสาร กลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทั้งที่อยู่ในวัยเรียนถึงวัยทำงาน จำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัล ในวงการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง การสอบเพื่อประเมินผลการเรียน เป็นกระบวนการส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชา ได้มีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานรวมถึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในขบวนการนี้ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด            ปัญหาที่พบในยุคแรกๆ คือต้นทุนการลงทุนที่มีราคาสูง ระบบในขณะนั้นยังต้องอาศัยทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์การเขียนโปรแกรม และเทคโนโลยียังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่มาก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย รวมถึงซอฟแวร์ต่างๆ มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือสูง รองรับการประมวลผลบนคลาวน์ ระบบมีการออกแบบให้ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงาน …

โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท Read More »

Loading

การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.2 ปีการศึกษา 2565 การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา (สืบเนื่องจากการคัดเลือกให้ได้รับโล่รางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2566 ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย)KM: การสอนรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา (Professional Ethics for Educational Administrators) ผู้จัดทำโครงการ ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้                       การบริหารจัดการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญและยึดถือเป็นมโนธรรมสำนึกของผู้บริหารการศึกษา การที่จะมีจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมได้อย่างไรนั้น อยู่ที่การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องมีจิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ…..จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556และตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550 …

การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา Read More »

Loading

สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 ปีการศึกษา 2565 สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋ ผู้จัดทำโครงการ รองคณบดีฝ่ายบริหารและกรรมการจัดการความรู้ของคณะเทคนิคการแพทย์ ผู้ให้ความรู้ คณาจารย์กลุ่มวิชาธนาคารเลือด  คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนไม่มีความเบื่อหน่าย นักศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น Kahoot, Canva, Socrative, ZipGrade และ ClassDojo เป็นต้น ซึ่งแต่ละ application ก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้จะเลือกตามความเหมาะสม โดยคณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเทคนิคการแพทย์ มีความประสงค์ที่จะทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 และ 4 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงนำเอา application kahoot มาประยุกต์ใช้กับนักศึกษาปีที่ 3 ในวิชา MTH341 และ …

สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋ Read More »

Loading

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3, KR 1.4.3, KR 1.4.5 การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของนักศึกษา หลักสูตรบัญชีบัณฑิตด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning https://www.youtube.com/watch?v=MNPgm_OI1mk&list=PLcTvutIKrjekMO78ArSFb0bNdwo4HjVk8&index=5 VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media  ผู้จัดทำโครงการ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ คณะบัญชี ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในรายวิชาต่างๆ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้และสามารถสะท้อนคิดแนวทางการประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงก่อนที่จะไปปฏิบัติงานจริงในวิชาสหกิจศึกษา หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพบัญชี การพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้1. เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ในการใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงผ่านกิจกรรมที่บูรณาการเข้าไปในการสอนรายวิชาต่างๆ ด้วยการชี้แจงถึงประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากประสบการณ์วิชาชีพ เช่น นักศึกษาจะได้รับรางวัลหากมีผลงานโดดเด่น การให้คะแนนที่ท้าทายและรวมคำนวณเป็นคะแนนการวัดและประเมินผลรายวิชา การได้รับวุฒิบัตรจากการเข้าร่วมเพื่อเป็น Profile ในการสมัครงานในโครงการสหกิจศึกษา การให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาใช้ในการพัฒนาศักยภาพตนเองต่อไป รวมทั้งการทำ PLC หลังกิจกรรม 2. …

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ Read More »

Loading

สมรรถนะทางการสอน

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 สมรรถนะทางการสอน : จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilinggual Schools https://www.youtube.com/watch?v=-h6ryOBe9EM&list=PLcTvutIKrjekMO78ArSFb0bNdwo4HjVk8&index=2 VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media  ผู้จัดทำโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุลวิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ Singh and Richards (2006: 155) ได้ให้ความเห็นในการฝึกครูสอนภาษาที่สองว่า “การเรียนรู้ของครูมีความเกี่ยวเนื่องกับการค้นหาทักษะและความรู้ที่มิได้เกี่ยวข้องกับทักษะความรู้ทางภาษาเท่านั้น แต่รวมถึงการเรียนรู้ในความเป็นครูภาษาด้วย” ประเด็นที่ท้าทายในการสอนรายวิชา MBE 613 Teaching Practicum in Bilingual Schools ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาใหม่ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 และเริ่มเปิดสอนรายวิชาครั้งแรกในภาคการศึกษาปลาย 2565 คือ ทำอย่างไรที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เนื้อหาในภาคทฤษฎี …

สมรรถนะทางการสอน Read More »

Loading

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X