KR 2.3.2

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2, KR 5.2.1 ปีการศึกษา 2565 สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์  ผู้ให้ความรู้ (วิทยากรหลักในโครงการ) ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุมคณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาในระดับโลก ระดับประเทศ และในระดับชุมชน ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และรวมถึงการปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม สมาชิกในชุมชนไม่เพียงแต่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนหรือชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกัน ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยตนเองจึงเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ใส่ใจกับการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตร“สิ่งแวดล้อมศึกษาสู่การพัฒนาชุมชน” ให้กับบุคลากรและผู้สนใจทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถานศึกษา เพื่อให้นำความรู้จากหลักสูตรดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น […]

Loading

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน Read More »

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2 ปีการศึกษา 2565 “คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา ผู้จัดทำโครงการ ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร นางสาวกัญญ์กานต์ กุญโคจรนางสาวชวัลรัศมิ์ จตุเทนนายกิตติธัช ช้างทอง สถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคมฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้             มหาวิทยาลัยรังสิตจัดตั้งรายวิชาเรียน RSU184 คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย ทางสถาบันศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาสังคม ร่วมกับสถาบัน GEN.ED. มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้การเตรียมตัวสำหรับคนต่างรุ่น ในการเข้าสู่วัยสูงอายุ และสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทย และสังคมโลก เข้าใจแนวคิดสูงวัยเชิงรุก (Active Aging) ซึ่งเป็นกรอบแนวนโยบายที่สร้างโดยองค์การอนามัยโลก ที่มุ่งเน้นในด้านสุขภาพกายและจิตที่ดี การมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมสูงวัยและสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคต พร้อมมีพื้นฐานในการเตรียมตัวทำธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้านกระบวนการคิด วิเคราะห์ การออกแบบธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม นำไปประกอบการใช้งานได้จริง และมีเข้าใจในปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและสามารถมีการจัดการการวางแผนอย่างเป็นระบบได้ดี แม้ท่ามกลางกระแสขอความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็ว

Loading

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา Read More »