ยุทธศาสตร์ที่ 2

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2, KR 5.2.1 ปีการศึกษา 2565 สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์  ผู้ให้ความรู้ (วิทยากรหลักในโครงการ) ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุมคณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาในระดับโลก ระดับประเทศ และในระดับชุมชน ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และรวมถึงการปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม สมาชิกในชุมชนไม่เพียงแต่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนหรือชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกัน ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยตนเองจึงเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ใส่ใจกับการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตร“สิ่งแวดล้อมศึกษาสู่การพัฒนาชุมชน” ให้กับบุคลากรและผู้สนใจทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถานศึกษา เพื่อให้นำความรู้จากหลักสูตรดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น …

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน Read More »

Loading

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.2 การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย https://www.youtube.com/watch?v=7AM27RVc7eU&list=PLcTvutIKrjekMO78ArSFb0bNdwo4HjVk8&index=4&t=45s VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media  ผู้จัดทำโครงการ รศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสานวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 1) ตีกรอบวิจัยที่สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพและน่าสนใจ การสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและน่าสนใจจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานของนักวิจัยได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดยในการตีกรอบวิจัยนั้น ควรเลือกหัวข้อวิจัยที่เป็นปัญหาที่สำคัญ หรือปัญหาใหญ่ซึ่งมีนักวิจัยสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหากเลือกทำงานวิจัยที่เป็นปัญหาเฉพาะขนาดเล็กจำนวน Citation ก็น้อยตาม และงานวิจัยที่เลือกทำนั้นได้มีการศึกษาหรือวิจัยมาบ้างแล้ว ตามความเชี่ยวชาญและยังมีช่องว่างในการวิจัยอยู่ ทั้งนี้ควรตระหนักว่าการสร้างผลงานที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูงสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น 2) ส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูง การเลือกตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี Impact Factor (IF) สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานวิจัยนั้น ๆ ได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดย Impact Factor เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของวารสารว่ามีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากน้อยเพียงใด …

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย Read More »

Loading

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2 ปีการศึกษา 2565 การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” ผู้จัดทำโครงการ รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญาอาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ        …

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” Read More »

Loading

การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 ปีการศึกษา 2565 การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญานายปราโมทย์ ไกรยันวิทยาลัยนิเทศศาสตร์   หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า สังคมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy and Society) ซึ่งเป็นแนวคิดของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ การศึกษา วิจัย การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม และการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าหรือบริการซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมทั้งมีการใช้สินค้าหรือบริการเหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย การวิจัยการออกแบบ (Design Research) จึงเป็นกระบวนทัศน์การวิจัยที่เป็น “นวัตกรรมการวิจัย” แห่งศตวรรษ 21 ที่มุ่งไปสู่ “สังคมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ “การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม” ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ “การคิดออกแบบ” (Design Thinking) ในทุกๆ ขั้นตอน โดยผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงปรัชญาการออกแบบ (Philosophy of Design) ที่เป็นระบบความเชื่อที่ใช้ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ หรือการเข้าถึงวิธีคิดและหลักการที่ใช้ในการออกแบบ หรืออาจเป็นการเข้าถึงผลงานทางความคิดที่ได้จากการออกแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง …

การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ Read More »

Loading

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept”

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.5.2 ปีการศึกษา 2565 เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : โครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ผู้จัดทำโครงการ อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุลวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้       หลายปีมานี้ยานพาหนะไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประเทศไทยหรือในตลาดโลก เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพาหนะทุกขนาด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า, รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, รวมถึงสกูตเตอร์ไฟฟ้า และในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมทั้งในแง่ของการลดมลพิษ, ประสิทธิภาพของรถ, การประหยัดค่าใช่จ่ายทั้งในแง่การบำรุงรักษาและการชาร์จเทียบกับการเติมน้ำมัน     …

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” Read More »

Loading

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4, KR 2.2.2,                              KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4                                      …

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง Read More »

Loading

การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.1, KR 2.5.3 ปีการศึกษา 2565 การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ ผู้จัดทำโครงการ ผศ. ดร. คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ในการพัฒนาการร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศ จำเป็นต้องมีความรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงาน รวมถึง Plan, Do, Check และ Action ประสบความสำเร็จ มีดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อวิจัยหรือประเด็นการวิจัยน่าสนใจ (Research knowledge) รวมถึงเข้าใจสภาวะปัจจุบันของการวิจัยในสาขานั้น ๆ การระบุช่องว่างการวิจัย และการกำหนดคำถามวิจัยที่ต้องการคำตอบ ความรู้นี้จะช่วยนำไปสู่ขั้นตอนการวางแผนและตรวจสอบว่าโครงการมีความเกี่ยวข้องและมีผลกระทบหรือไม่อย่างไร ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างทีมงาน (Efficient collaboration between team members) การทำงานในโครงการวิจัยในระดับนานาชาติ ต้องการบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย รวมถึงเข้าใจพื้นหลัง ความเชี่ยวชาญ และเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายและหลายประเทศ ความรู้นี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจ และสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ (Software and application …

การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ Read More »

Loading

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 ปีการศึกษา 2565 การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม(In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and anticancer activities of mixture Thai medicinal plants) ผู้จัดทำโครงการ อ.ดร.ภญ. นลินี ประดับญาติวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ บริบทหรือความเป็นมาของเรื่องที่เล่า        ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 หรือภาวะมลพิษจากการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (particulate matters 2.5; PM 2.5) ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ในระยะเฉียบพลันการติดโรคโควิด-19 มีผลกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบและเป็นเหตุให้การทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลวได้ ส่วนฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ รวมทั้งมีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าฝุ่นนี้เป็นปัจจัยต่อการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง พืชสมุนไพรไทยหลายชนิด ได้แก่ มะนาว ใบหญ้านาง ข่า พริกไทย ใบกัญชา ฯลฯ …

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม Read More »

Loading

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2 ปีการศึกษา 2565 “คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา ผู้จัดทำโครงการ ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร นางสาวกัญญ์กานต์ กุญโคจรนางสาวชวัลรัศมิ์ จตุเทนนายกิตติธัช ช้างทอง สถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคมฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้             มหาวิทยาลัยรังสิตจัดตั้งรายวิชาเรียน RSU184 คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย ทางสถาบันศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาสังคม ร่วมกับสถาบัน GEN.ED. มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้การเตรียมตัวสำหรับคนต่างรุ่น ในการเข้าสู่วัยสูงอายุ และสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทย และสังคมโลก เข้าใจแนวคิดสูงวัยเชิงรุก (Active Aging) ซึ่งเป็นกรอบแนวนโยบายที่สร้างโดยองค์การอนามัยโลก ที่มุ่งเน้นในด้านสุขภาพกายและจิตที่ดี การมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมสูงวัยและสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคต พร้อมมีพื้นฐานในการเตรียมตัวทำธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้านกระบวนการคิด วิเคราะห์ การออกแบบธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม นำไปประกอบการใช้งานได้จริง และมีเข้าใจในปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและสามารถมีการจัดการการวางแผนอย่างเป็นระบบได้ดี แม้ท่ามกลางกระแสขอความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็ว …

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา Read More »

Loading

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development)

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.1 ปีการศึกษา 2565 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) ผู้จัดทำโครงการ อ.กัญจนพร โตชัยกุลผศ.ดร นัฐพงษ์ มูลคำคณะรังสีเทคนิค หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ แนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร (นวัตกรรมทางด้านวัสดุป้องกันรังสี)           อุปกรณ์กันรังสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นวัสดุที่ผลิตจากตะกั่วและมี Density ที่สูง ทำให้มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี มักใช้ในห้อง General X-ray, CT Scan, Cath Lab, X-ray C-arm, Operation Room หรือใช้ประกอบกับประตูกันรังสี ฉากกันรังสีภายในห้อง ตลอดจนฉากเลื่อนกันรังสีต่างๆ แต่เนื่องจากด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงและตะกั่วมีความเป็นพิษ จึงต้องการศึกษาคุณสมบัติของส่วนผสมสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ (Iodine contrast media) และ epoxy resin ที่สามารถขึ้นรูปได้อย่างอิสระ …

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) Read More »

Loading

ขณะนี้ ปิดระบบ IDP เพื่อประมวลผลข้อมูลปีการศึกษา 2566

X