ชมเชย

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2, KR 5.2.1 ปีการศึกษา 2565 สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์  ผู้ให้ความรู้ (วิทยากรหลักในโครงการ) ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุมคณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาในระดับโลก ระดับประเทศ และในระดับชุมชน ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และรวมถึงการปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม สมาชิกในชุมชนไม่เพียงแต่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนหรือชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกัน ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยตนเองจึงเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ใส่ใจกับการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตร“สิ่งแวดล้อมศึกษาสู่การพัฒนาชุมชน” ให้กับบุคลากรและผู้สนใจทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถานศึกษา เพื่อให้นำความรู้จากหลักสูตรดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น […]

Loading

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน Read More »

การจัดการกีฬายูยิตสูสู่ความเป็นเลิศ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.3 ปีการศึกษา 2565 การจัดการกีฬายูยิตสูสู่ความเป็นเลิศ ผู้จัดทำโครงการ คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ผู้ให้ความรู้ ผศ.ดร.ชาญชัย สุขสุวรรณ์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          การจัดการความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร เป็นการนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้ได้มากที่สุด โดยมีกระบวนการในการสรรหาความรู้เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันไปยังบุคลากรเป้าหมาย ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น พัฒนาคนหรือผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนพัฒนาฐานความรู้ขององค์กร          จากเหตุผลดังกล่าวสถาบันกีฬา จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ การนำกระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และพัฒนาฐานความรู้ภายในหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและบังเกิดผลต่อการปฏิบัติด้านพัฒนาองค์กร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องรวบรวม การจัดการความรู้สถาบันกีฬา (KM) ในสถาบันกีฬา และพัฒนาเป็นประจำทุก ๆ ปี ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ประเภทความรู้และที่มาของความรู้

Loading

การจัดการกีฬายูยิตสูสู่ความเป็นเลิศ Read More »

ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.3 ปีการศึกษา 2565 ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้จัดทำโครงการ ดร.เครือวัลย์ คุ้มครอง (รองคณบดีฝ่ายบริหาร) คณะเทคนิคการแพทย์ ผู้ให้ความรู้ 1) ดร.อรนันท์ พรหมมาโน2) ดร.อรอุมา สร้อยจิตคณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ เนื่องจากมีการปรับใช้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ สำหรับปีการศึกษา 2565 – 2569 ส่งผลให้มียุทธศาสตร์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การเสริมสร้างพัฒนาความเป็นสากล (Internationalization) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้     (1) เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร มีความรู้ทักษะการสื่อสารและประสบการณ์ที่จะประสบความสำเร็จ ในสังคมนานาชาติและพัฒนาความสามารถเหล่านี้ ได้ด้วยตนเองผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้     (2) เพื่อให้มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นสากลจากองค์กร มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก

Loading

ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ Read More »

กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.3 ปีการศึกษา 2565 กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้จัดทำโครงการ อาจารย์นภาพรรณ พงษ์พวงเพชรศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งอาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรที่เข้ามาใช้บริการของศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนําข้อมูลของห้องปฏิบัติการนี้ไปดําเนินการเพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัยจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) จากการลงมือปฏิบัติจริง ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ : ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) นำประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในระบบมาตรฐานอื่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน วิธีการดำเนินการ วิธีการดำเนินการ ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย (Lab safety) ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ ESPReL check list ตามข้อกำหนดของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( ESPReL check list จากจำนวนข้อกำหนด 162

Loading

กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 1.1.4, KR 3.4.1 ปีการศึกษา 2565 การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้จัดทำโครงการ นายกิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย สำนักงานมาตรฐานวิชาการ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ หลักการและเหตุผล / ความสำคัญ / ประเด็นปัญหา *         สำนักงานมาตรฐานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เนื่องจากสำนักงานมาตรฐานวิชาการมีหน้าที่รับผิดชอบงานตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้อาจารย์ได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น ตลอดจน ให้อาจารย์ได้ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับงานสอน โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน โดยเสนอผลงานผ่านคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเบื้องต้นฯ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชการ และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตามลำดับ ตลอดจนมีการสนับสนุนให้อาจารย์ผลิต ผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง สำนักงานฯ เห็นว่าการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมีความสำคัญ และควรมีขั้นตอนในการปฏิบัติในแต่ละช่วงให้ชัดเจน เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยการใช้ Flow Chart ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ จึงได้จัดทำเป็นกรอบในการทำงาน Flow Chart

Loading

การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ Read More »

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2 ปีการศึกษา 2565 การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” ผู้จัดทำโครงการ รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญาอาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ       

Loading

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” Read More »

การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 ปีการศึกษา 2565 การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญานายปราโมทย์ ไกรยันวิทยาลัยนิเทศศาสตร์   หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า สังคมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy and Society) ซึ่งเป็นแนวคิดของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ การศึกษา วิจัย การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม และการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าหรือบริการซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมทั้งมีการใช้สินค้าหรือบริการเหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย การวิจัยการออกแบบ (Design Research) จึงเป็นกระบวนทัศน์การวิจัยที่เป็น “นวัตกรรมการวิจัย” แห่งศตวรรษ 21 ที่มุ่งไปสู่ “สังคมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ “การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม” ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ “การคิดออกแบบ” (Design Thinking) ในทุกๆ ขั้นตอน โดยผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงปรัชญาการออกแบบ (Philosophy of Design) ที่เป็นระบบความเชื่อที่ใช้ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ หรือการเข้าถึงวิธีคิดและหลักการที่ใช้ในการออกแบบ หรืออาจเป็นการเข้าถึงผลงานทางความคิดที่ได้จากการออกแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง

Loading

การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ Read More »

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept”

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.5.2 ปีการศึกษา 2565 เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : โครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ผู้จัดทำโครงการ อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุลวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้       หลายปีมานี้ยานพาหนะไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประเทศไทยหรือในตลาดโลก เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพาหนะทุกขนาด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า, รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, รวมถึงสกูตเตอร์ไฟฟ้า และในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมทั้งในแง่ของการลดมลพิษ, ประสิทธิภาพของรถ, การประหยัดค่าใช่จ่ายทั้งในแง่การบำรุงรักษาและการชาร์จเทียบกับการเติมน้ำมัน    

Loading

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” Read More »

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4, KR 2.2.2,                              KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4                                     

Loading

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง Read More »

การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.1, KR 2.5.3 ปีการศึกษา 2565 การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ ผู้จัดทำโครงการ ผศ. ดร. คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ในการพัฒนาการร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศ จำเป็นต้องมีความรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงาน รวมถึง Plan, Do, Check และ Action ประสบความสำเร็จ มีดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อวิจัยหรือประเด็นการวิจัยน่าสนใจ (Research knowledge) รวมถึงเข้าใจสภาวะปัจจุบันของการวิจัยในสาขานั้น ๆ การระบุช่องว่างการวิจัย และการกำหนดคำถามวิจัยที่ต้องการคำตอบ ความรู้นี้จะช่วยนำไปสู่ขั้นตอนการวางแผนและตรวจสอบว่าโครงการมีความเกี่ยวข้องและมีผลกระทบหรือไม่อย่างไร ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างทีมงาน (Efficient collaboration between team members) การทำงานในโครงการวิจัยในระดับนานาชาติ ต้องการบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย รวมถึงเข้าใจพื้นหลัง ความเชี่ยวชาญ และเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายและหลายประเทศ ความรู้นี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจ และสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ (Software and application

Loading

การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ Read More »