Pijitra

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2 ปีการศึกษา 2565 “คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา ผู้จัดทำโครงการ ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร นางสาวกัญญ์กานต์ กุญโคจรนางสาวชวัลรัศมิ์ จตุเทนนายกิตติธัช ช้างทอง สถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคมฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้             มหาวิทยาลัยรังสิตจัดตั้งรายวิชาเรียน RSU184 คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย ทางสถาบันศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาสังคม ร่วมกับสถาบัน GEN.ED. มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้การเตรียมตัวสำหรับคนต่างรุ่น ในการเข้าสู่วัยสูงอายุ และสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทย และสังคมโลก เข้าใจแนวคิดสูงวัยเชิงรุก (Active Aging) ซึ่งเป็นกรอบแนวนโยบายที่สร้างโดยองค์การอนามัยโลก ที่มุ่งเน้นในด้านสุขภาพกายและจิตที่ดี การมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมสูงวัยและสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคต พร้อมมีพื้นฐานในการเตรียมตัวทำธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้านกระบวนการคิด วิเคราะห์ การออกแบบธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม นำไปประกอบการใช้งานได้จริง และมีเข้าใจในปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและสามารถมีการจัดการการวางแผนอย่างเป็นระบบได้ดี แม้ท่ามกลางกระแสขอความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็ว […]

Loading

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย”สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา Read More »

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development)

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.1 ปีการศึกษา 2565 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) ผู้จัดทำโครงการ อ.กัญจนพร โตชัยกุลผศ.ดร นัฐพงษ์ มูลคำคณะรังสีเทคนิค หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ แนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร (นวัตกรรมทางด้านวัสดุป้องกันรังสี)           อุปกรณ์กันรังสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นวัสดุที่ผลิตจากตะกั่วและมี Density ที่สูง ทำให้มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี มักใช้ในห้อง General X-ray, CT Scan, Cath Lab, X-ray C-arm, Operation Room หรือใช้ประกอบกับประตูกันรังสี ฉากกันรังสีภายในห้อง ตลอดจนฉากเลื่อนกันรังสีต่างๆ แต่เนื่องจากด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงและตะกั่วมีความเป็นพิษ จึงต้องการศึกษาคุณสมบัติของส่วนผสมสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ (Iodine contrast media) และ epoxy resin ที่สามารถขึ้นรูปได้อย่างอิสระ

Loading

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) Read More »

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.3.1 ปีการศึกษา 2565 ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุลคณะดิจิทัลอาร์ต หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเทคโนโลยี ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วชนิดทวีคูณจนยากจะคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น การศึกษาในยุคนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่ใช่เพียงแค่ชั่วคราวหากแต่ต้องมีการดำเนินการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังเช่น วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของทุกสถาบันการศึกษาทั่วโลกจนต้องทำให้มีการปรับตัวคือ ได้มีการนำการเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาใช้อย่างจริงจัง สถานศึกษาหลายแห่งแม้ยังไม่เคยใช้ต่างพยามดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบทั้งห้องเรียนการศึกษาทั่วไปและห้องเรียนการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนด้านศิลปะส่วนใหญ่ส่งเสริมเป็นการสอนสำหรับเด็กปกติ ขณะที่เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากยังขาดสื่อการเรียนรู้ด้านศิลปะ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว การออกแบบสื่อการสอนออนไลน์และการผลิตสื่อการสอนแอนิเมชันเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส จึงนับเป็นการส่งเสริมให้ประชากรทุกคนควรได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา “การศึกษาไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (ครูกัลยา. ๒๕๖๓)             ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพหลายครั้ง แต่ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาต่อไปคือ การเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นให้ได้ผลดังที่ควรจะเป็น เพราะทุกความสำเร็จจะเกิดผลได้หากมีพื้นฐานที่ชำนาญมั่นคง

Loading

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ Read More »

ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 ปีการศึกษา 2565 ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้จัดทำโครงการ นายวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ จริยธรรมการวิจัยในคน ตามหลักการที่บัญญัติไว้ในรายงานเบลมองต์ (Belmont Report) ประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 1. หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) เป็นการเคารพในศักดิ์ศรีความคนของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย2. หลักคุณประโยชน์ (Benefit) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัยกับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ชุมชนหรือสังคมในภาพรวม 3. หลักความยุติธรรม (Justice) การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยวิธีการที่เป็นธรรมไม่อคติรวมทั้งการกระจายผลประโยชน์และความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการวิจัยอย่างเท่าเทียมกัน จากหลักการและเหตุผลดังที่กล่าวนั้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในด้านศิลธรรม เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดได้ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายทางกาย จิตใจ สถานะทางสังคม ฐานะทางการเงิน และอันตราจากกฎหมาย ทางด้านวิชาการ เป็นหลักฐานแนบ ในการส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ (สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวกับคน) เป็นหลักฐานแนบในการขอตำแหน่งวิชาการ (สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวกับคน) ตามประกาศ

Loading

ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน Read More »

เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.1.2, KR 1.1.4, KR 5.2.2 ปีการศึกษา 2565 เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มยอดนักศึกษาแรกเข้าในหลักสูตรปริญญาโท SMT ผู้จัดทำโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุมามาลย์ ปานคำวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ จากวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม คือ มุ่งสร้างนักเทคโนโลยีสื่อสังคมที่มีคุณภาพเน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริงและผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ให้มีความทันสมัย มีความเป็นนวัตกรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม          ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสังคม หรือ โซเชียลมีเดีย (Social Media) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับคนในยุคดิจิทัลกลายเป็นพื้นที่ในการติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ และทำกิจกรรมประเภทต่าง ๆ หนึ่งในนั้น คือ การทำงานหรือประกอบอาชีพ สามารถเป็นตัวช่วยในการทำงาน เช่น ผู้ประกอบการใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นพื้นที่ทางการค้าและการตลาด หรือที่เรียกว่า “ตลาดออนไลน์”

Loading

เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น Read More »

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.1, KR 1.4.2, KR 1.4.5 ปีการศึกษา 2565 อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวชวิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้              ตามหลักการอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรฐานหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมไปถึงมาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในทางด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล โดยกำหนดไว้ว่าอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นนอกจากจะต้องเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน และมีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปแล้วนั้น ยังต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเน้นกระบวนการทำงานและการสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามได้ตามความคาดหมาย            ความสำคัญในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาไม่เพียงแต่เป็นการสนองนโยบายหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2565-2569 (แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่) แต่ยังเป็นวิธีการประเมินตนเองอย่างเป็นเป็นรูปธรรมในกระบวนการการทำงานว่าได้ทำสิ่งใดบ้าง อย่างไร และได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่            ดังนั้น

Loading

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21​

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3 ปีการศึกษา 2565 รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร. วิมลรัตน์ บุญเสถียรคณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบุคคลซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ต้องถูกต้องแม่นยำและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด การจัดการเรียนรู้ของวิชาชีพส่วนใหญ่จึงมีชั่วโมงการฝึกปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการและสถานการณ์จริงมากกว่าการเรียนภาคทฤษฎี โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความความรู้ มีทักษะที่จำเป็นทางวิชาชีพ และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของพยาบาลยุคปัจจุบันตามที่ปรากฎในหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจทางคลินิก ทักษะการสื่อสารทั้งเชิงวิชาชีพและสังคม การเป็นผู้นำหรือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพให้กับผู้รับบริการ และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ผ่านมาแม้จะมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเป็นระยะ จนนักศึกษามีความรู้และทักษะจำเป็นทางวิชาชีพที่สามารถประกอบวิชาชีพได้ตามมาตรฐาน แต่การพัฒนาสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรยังไม่ชัดเจน นักศึกษาจำนวนมากเป็นผู้ตามที่ดี แม้มีความรู้ความคิดและตัดสินใจทางคลินิกในระดับหนึ่ง แต่ขาดความมั่นใจในการสะท้อนคิดหรืออภิปรายร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากกังวลเรื่องความถูกผิดของความคิดเห็น นอกจากนี้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมและความบันเทิง จึงจำเป็นต้องเพิ่มการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทันข้อมูล รู้แหล่งค้นหา เลือกใช้ข้อมูลและใช้งานเทคโนโลยีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ ประเภทความรู้และที่มาของความรู้ : ความรู้แบบชัดแจ้ง

Loading

รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21​ Read More »

โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท

รางวัลชมเชย ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.2, KR 1.4.4 ปีการศึกษา 2565 โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท ผู้จัดทำโครงการ ณัฐพัชร์ หลวงพลศูนย์บริการวิชาการ หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคมโดยทั่วไป นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์สื่อสาร กลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทั้งที่อยู่ในวัยเรียนถึงวัยทำงาน จำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัล ในวงการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง การสอบเพื่อประเมินผลการเรียน เป็นกระบวนการส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชา ได้มีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานรวมถึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในขบวนการนี้ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด            ปัญหาที่พบในยุคแรกๆ คือต้นทุนการลงทุนที่มีราคาสูง ระบบในขณะนั้นยังต้องอาศัยทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์การเขียนโปรแกรม และเทคโนโลยียังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่มาก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย รวมถึงซอฟแวร์ต่างๆ มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือสูง รองรับการประมวลผลบนคลาวน์ ระบบมีการออกแบบให้ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงาน

Loading

โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท Read More »